โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

1 กันยายน 2553

ธุรกิจเอกชนจะได้อะไรจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553

                                   

การทำสำมะโนประชากรเป็นกิจกรรมที่ถูกจัดอย่างต่อเนื่องมานานในประเทศต่างๆมากกว่า 200 ประเทศ ประเทศไทยได้จัดทำสำมะโนประชากรมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งแรก ทำในปี พ.ศ. 2452 และใน พ.ศ. 2553 จะเป็นการทำครั้งที่ 11 นับได้ว่ามีการทำสำมะโนประชากรในประเทศไทยมาแล้วครบ 100 ปีพอดี สำหรับ “วันสำมะโนประชากร” ครั้งที่จะถึงนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนดให้เป็น วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะใช้เป็นจุดเวลาอ้างอิงของข้อมูลแต่ละคนในการทำสำมะโนประชากรครั้งนี้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนับอายุ การเกิด ตาย และย้ายที่อยู่จะถือเอาวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นเกณฑ์

“การทำสำมะโนประชากร” คือ การนับจำนวนผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และแจกแจงว่าผู้คนเหล่านั้นมีคุณลักษณะอย่างไร เป็นชาย เป็นหญิง อายุเท่าไร มีสถานภาพสมรส การศึกษา การอ่านออกเขียนได้ การทำงานอาชีพต่างๆ การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อย่างไร ซึ่งเป็นเสมือนการฉายภาพนิ่งของคนทั้งประเทศในเวลาเดียวกัน ข้อมูลสำมะโนประชากรฯ จึงเป็นข้อมูลระดับประเทศที่สำคัญมาก สามารถนำมาใช้ช่วยตัดสินใจของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการนำไปใช้โดยผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้มากมาย ได้แก่

- ใช้วางแผนนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ในพื้นที่มีเด็กมาก จำเป็นต้องมีโรงเรียน/ครู และวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคของเด็กแต่ละวัยให้เพียงพอ ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ต้องมีสาธารณูปโภคให้เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนประชากร

- ใช้กำหนดประเด็นปัญหา ตั้งเป้าหมาย และติดตามความก้าวหน้าในการทำงาน ในการบริหารจัดการและประเมินโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาครอบครัว เคหะที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาพอนามัย การขนส่งคมนาคม การพัฒนาเมืองและชนบท เช่น ใช้ในการประเมินผลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) เป็นต้น

- ใช้วางแผนต่อเนื่องและใช้ในงานวิชาการต่างๆ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้นำข้อมูลตัวเลขจากสำมะโนประชากร ไปใช้เป็นข้อมูลฐานในการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยในอนาคต ถ้าไม่มีข้อมูลแสดงภาพประชากรที่ถูกต้องเชื่อถือได้ในปัจจุบันเป็นฐาน ก็ยากที่จะคาดประมาณภาพประชากรของประเทศไทยในอนาคตให้ถูกต้องได้ เช่น ตัวเลขประมาณการนี้สามารถนำมาใช้จัดเตรียมแผนพัฒนาเศรษฐกิจกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) ได้ เป็นต้น

สำหรับภาคเอกชนก็สามารถนำข้อมูลจากสำมะโนประชากรไปใช้ได้ เนื่องจากสำมะโนประชากรมีจุดเด่นที่สำคัญคือ สามารถนำเสนอข้อมูลได้ถึงระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรฯ ประกอบการตัดสินใจตั้งร้านค้า หรือผลิตสินค้าเพื่อขาย ขณะที่ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล และอบต. ก็สามารถใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากรและเคหะร่วมกับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่ง ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน วางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนได้เช่นกัน

การร่วมผลักดันงานสำมะโนประชากรและเคหะให้บรรลุวัตถุประสงค์ สามารถนับจำนวนประชากรทุกคน รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประชากรและที่อยู่อาศัยของประชากรได้ครบถ้วนมาก ที่สุด จึงต้องทำการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในประเทศอย่างเร่งด่วนต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้รับจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะของประเทศไทย ซึ่งภาคธุรกิจเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการผลักดันงานสำมะโนประชากรและเคหะ ได้ดังนี้

1. ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในประเทศ รับรู้ เข้าใจ เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของสำมะโนประชากร และต้องการให้ความร่วมมือให้ข้อมูล ที่เป็นจริงของตนเองและสมาชิกในครัวเรือน
2. สนับสนุนการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สำมะโนประชากร ผ่านกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และอื่น ๆ โดยใช้โลโก้ สำมะโนประชากร ถ้อยคำหรือคำขวัญสั้นๆ ให้ติดตา ติดปาก ประชากร
3. กิจกรรมอื่น ๆ ที่เห็นสมควรดำเนินงาน

ที่มา:
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/News/census/default.htm

31 สิงหาคม 2553

การประชุมชี้แจง สปค.53 ระดับเจ้าหน้าที่วิชาการ



สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ จัดประชุมชี้แจงโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ระดับเจ้าหน้าที่วิชาการ เมื่อวันที่ 20 -23 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมทองธารินทร์ พร้อมเปิดแถวขบวนรถประชาสัมพันธ์โครงการ สปค. 53 โดยมีท่านปลัดจังหวัดสุรินทร์ นายประสิทธิ์ บุญลิขิต เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมชี้แจงครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมชี้แจ้งจากแต่ละอำเภอซึ่งปฎิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่วิชาการ จำนวน 135 คน

ดูอับบั้มภาพกิจกรรมได้ที่
http://www.facebook.com/album.php?aid=26222&id=100001256521242&l=d3a82dd41f

21 สิงหาคม 2553

อัพเดทข้อมูลประชากร'สำมะโนคนไทย'แม่น-ชัด'พัฒนาชาติ'

"การทำสำมะโนแบบสมัยใหม่ของประเทศไทยนั้น ถือว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยขณะนั้นดำเนินการใน 17 มณฑลและพบว่าในตอนนั้นประเทศไทยมีประชากรอยู่ทั้งสิ้น 8,131,247 คน"...นี่เป็นข้อมูลซึ่งย้อนอดีตราว 100 ปี


เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ "สำมะโนประชากร"ที่กำลังจะมีการ "อัพเดท"อีกครั้งเร็ว ๆ นี้...จากเอกสารของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การทำสำมะโน หรือสำมะโนประชากรของประเทศไทย ในรูปแบบสมัยใหม่นั้น เริ่มมีขึ้นในปี 2448 โดยในตอนนั้นเรียกว่า "บัญชีพลเมือง"เพื่อให้ทราบถึงจำนวนและรายละเอียด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ ฯลฯ ของคนในราชอาณาจักร ซึ่งการดำเนินการครบถ้วนและมีรายงานอย่างเป็นทางการในปี 2453 หรือครบ 100 ปีในปี 2553 นี้


ทั้งนี้ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อเหล่าปวงไทย ทรงให้ความสำคัญกับงานสถิติซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งในการทำสำมะโนเกือบทุกครั้งที่ผ่านมา พระองค์ท่านได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้คณะผู้บริหารสำนักงานสถิติแห่ง ชาติเข้าเฝ้าฯ ถวายรายงาน และพระราชทานแนวพระราชดำริที่เป็นประโยชน์ยิ่งในการจัดทำสำมะโนประชากรและ เคหะ


นับแต่ครั้งแรกจนปัจจุบัน ประเทศไทยเคยมีการจัดทำสำมะโนประชากรแล้ว 10 ครั้ง โดยทำทุก ๆ 10 ปี ซึ่งการจัดทำครั้งที่ 1-5 ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทย และตั้งแต่ครั้งที่ 6 เรื่อยมา ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รวมถึงกับครั้งที่ 11 ซึ่งตรงกับวาระ ครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทยโดยจะมีการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 ก.ย. 2553 อันจะเป็นการทำให้ทราบรายละเอียดประชากรไทยที่ยุคนี้มีกว่า 67 ล้านคน ทั้งในเรื่องจำนวนที่แน่ชัด เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ความเป็นอยู่ในด้านต่าง ๆ


ข้อมูลจำนวนและโครงสร้างของประชากรในแต่ละ พื้นที่ที่อาศัยอยู่จริง นับเป็นฐานรากที่สำคัญที่ทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จำเป็นต้องใช้ ไม่ว่าจะเพื่อการจัดทำนโยบาย จัดหาบริการ จัดสวัสดิการสังคม จัดโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รองรับให้เหมาะสม นอกจากนี้ ข้อมูลนี้ยังสามารถใช้คาดการณ์ประชากรในอนาคต ใช้เป็นกรอบการเลือกตัวอย่างในการสำรวจต่าง ๆ ดังนั้น "ความร่วมมือของประชาชน" ในการให้ข้อมูลการทำสำมะโนประชากรจึงมีความสำคัญมาก!!


จีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติบอกว่า... จากการเก็บข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าฐานข้อมูลประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้าง มาก การเพิ่มของจำนวนประชากรในการเก็บข้อมูลครั้งที่ผ่านมาลดลงไปอย่างมาก ซึ่งในการเก็บข้อมูลครั้งใหม่นี้ก็เชื่อว่าฐานข้อมูลประชากรจะเปลี่ยนแปลงไป อีก ประชากรของไทยเข้าสู่วัยสูงอายุมากขึ้น วันนี้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมเรื่องการวางแผนประชากร


"ถ้ามีข้อมูลที่ชัดเจนว่าประชากรสูงอายุ เพิ่มขึ้น ในขณะที่แรงงานมีจำนวนน้อยลง รัฐบาลจะรับมืออย่างไร จะมีการเปลี่ยนทัศนคติของคนหนุ่มสาวให้มีบุตรมากขึ้นเหมือนในสิงคโปร์หรือ เปล่า สิ่งเหล่านี้ต้องวางนโยบายล่วงหน้า เพราะทุกอย่างต้องใช้เวลา" ...ผอ.สำนักงานสถิติฯ ระบุ พร้อมบอกด้วยว่า... ที่ผ่านมาการทำสำมะโนประชากรจะทำทุก 10 ปี แต่เนื่องจากปัจจุบันโลกเปลี่ยนเร็ว นายกรัฐมนตรีจึงให้นโยบายให้ลองพิจารณาว่าในอนาคตจะทำทุก 5 ปีได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องมีการศึกษารูปแบบการทำที่สอดคล้องกับสถานการณ์


ด้าน จุติ ไกรฤกษ์ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บอกว่า... ข้อมูลเชิงสถิติของประชากรนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ จัดสรรทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งใหม่ก็จะทำให้ได้ฐานข้อมูลที่สำคัญมา ดำเนินการในด้านต่าง ๆ


ทั้งนี้ กับการทำสำรวจสำมะโนประชากรครั้งใหม่นี้ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็ระบุไว้ในการประชุมเรื่อง "100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย เทิดไท้องค์ราชัน"เมื่อต้นเดือนก.ค. ที่ผ่านมา โดยบางช่วงบางตอนคือ... ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรที่แม่นยำ มีคุณภาพ มีความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายที่ดี ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน บริการสาธารณะทั้งในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจทางธุรกิจ การค้า การบริการ ได้อย่างแม่นยำ


"การจัดทำสำมะโนประชากร จะเป็นฐานข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารงานของรัฐบาล ไม่ใช่เพียงเฉพาะตัวเลขที่จะออกมาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า แต่นี่หมายถึงพื้นฐานของการตัดสินใจ วางแผน กำหนดนโยบาย ซึ่งนำไปสู่คุณภาพของบริการสาธารณะที่ประชาชนทุกคนควรจะได้รับจากรัฐบาล จึงอยากขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการที่จะช่วยกันทำงานนี้ให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด"...นายกรัฐมนตรีระบุไว้ 100 ปี ทำสำมะโนประชากร คนไทยก็ควรร่วมมือให้ข้อมูลมิใช่เพื่อรัฐบาล แต่เพื่อให้รัฐบาลทำงานให้คนไทยให้ดี

ที่มา : “อัพเดทข้อมูลประชากร'สำมะโนคนไทย'แม่น-ชัด'พัฒนาชาติ'.” ในคอลัมน์: สกู๊ปหน้า 1. เดลินิวส์ 15 กรกฎาคม 2553.

100 ปี สำมะโนประชากรเตือนฝัน(ร้าย)ที่เป็นจริงยุคผู้สูงอายุกำลังจะมา

ใครๆ มักเข้าใจว่า “การทำสำมะโนใประชากร”ก็เหมือนการทำ “ทะเบียนบ้าน”เป็นหลักฐานอ้างอิงว่า คนคนหนึ่งมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ และเป็นสมาชิกของท้องถิ่นหนึ่งๆ แต่ในความเป็นจริง การสำมะโนประชากรนั้นแตกต่างจากการทำทะเบียนราษฎรค่อนข้างมาก
          ว่ากันตามตัวอักษร พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิต พ.ศ.2542 ให้คำจำกัดความของคำว่า “ทะเบียนบ้าน”ว่าทะเบียนบ้านน. ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้านซึ่งแสดงเลขประจำบ้านและรายการของคนทั้งหมดผู้ อยู่ในบ้าน
          ส่วน สำมะโนประชากรน. การเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนและลักษณะต่างๆของราษฎรทุกคนในทุกครัว เรือน ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อใช้ประโยชน์ในทางสถิติ
          เทียบกันง่ายๆ สิ่งที่ปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้าน บอกเพียงรายชื่อบุคคลที่ลงทะเบียนแจ้งว่าเป็นสมาชิกในบ้านนั้นเรือนนั้น แจ้งสถานะภายในบ้าน และจะมีการอัพเดตข้อมูลก็ในกรณีที่มีการเกิด-ตาย ย้ายเข้า-ย้ายออก
          นั่นหมายความว่า สมาชิกที่แจ้งชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังหนึ่งนั้น อาจจะไปทำงานอยู่ต่างอำเภอต่างจังหวัดหรือต่างประเทศก็เป็นได้
          ขณะที่การสำรวจสำมะโนประชากรนั้นจะมีการ สำรวจทุก 10 ปีเพื่อ อัพเดตข้อมูลว่าณ เวลาหนึ่ง ณ พื้นที่ที่อยู่หรือเพิงพักอาศัยตรงนั้นมีประชากรเท่าไร เป็นชายหรือหญิงอายุกี่ปี และลึกลงไปในรายละเอียดว่า คนเหล่านั้นมีอาชีพอะไร
          ซึ่ง รายละเอียดของตัวเลขที่ได้จากการสำมะโนประชากรนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต่อการวางแผนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมนั้นๆ
          จีราวรรณ บุญเพิ่มผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อธิบายถึงความสำคัญของการทำสำมะโนประชากรว่า การทำสำมะโนประชากรเป็นงานมาตรฐานระดับโลก มี 230 ประเทศที่มีการทำสำมะโนประชากร โดยรายละเอียดคำถามต่างๆ จะมาจากทางสหประชาชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากประเทศต่างๆ เข้าไปร่วมปรึกษาดำเนินการจัดทำคู่มือเพื่อใช้อ้างอิงในการสำรวจสำมะโน ประชากร โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีประเทศไทยและฟิลิปปินส์เข้าไปเป็นตัว แทนในการจัดทำ
          สถิติที่ได้จากการสำมะโนประชากรในแต่ละประเทศเมื่อนำมารวมกันก็จะได้เป็นประชากรโลกจริงๆ ของเรา
          “ที่ผ่านมา ประเทศไทยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็น ‘วันสำมะโน’เพราะการทำสำมะโนสมัยก่อนเราใช้ครู จึงต้องเลือกวันที่ปิดเทอม แต่ตอนนี้ครูมีภารกิจมาก จึงเปลี่ยนมาใช้อาสาสมัครในพื้นที่ ประกอบกับเดือนเมษายนนั้นเป็นเดือนที่มีวันหยุดค่อนข้างมาก คนไม่ค่อยอยู่บ้าน ขณะที่การทำสำมะโนนั้นวันที่ใช้ในการอ้างอิงน่าจะเป็นวันที่ค่อนข้างนิ่งคือ ประชากรเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ปีนี้จึงกำหนดวันสำมะโนเป็น วันที่ 1 กันยายน”
          วัตถุประสงค์เพื่อให้รู้ว่า ณ วันนั้นมีประชากรกี่คน เป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ อายุเท่าไร แต่งงานหรือยังทำงานอะไร ล้วนเป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องประชากร โดยไม่พาดพิงไปถึงเรื่องของรายได้แต่อย่างใด
          ที่สำคัญคือ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสำมะโนก็จะไม่มีการเปิดเผยว่าได้จากนายคนนี้ หรือนางสาวคนนั้น ฉะนั้นจึงไม่ต้องกลัวว่าจะมีการนำเรื่องส่วนตัวไปเปิดเผยต่อยังที่อื่น
          เหตุที่ต้องมีการกำหนดวันสำมะโน ผอ.จีราวรรณบอกว่าเพราะคนเคลื่อนไหวตลอดเวลาทำให้คุณลักษณะของประชากรเปลี่ยนไปด้วย
          ตัวอย่างเช่น ถ้าดูตามทะเบียนราษฎรจะเห็นว่า ภาคอีสานมีประชากรอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ถ้าดูสำมะโนประชากรจะรู้เลยว่า คนอีสานกระจายไปอยู่ที่อื่นมากมายซึ่งเมื่อทราบตัวเลขที่ชัดเจนแล้วจะทำให้ ภาครัฐสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ จัดเตรียมสาธารณูปโภคพื้นฐานให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
          ขณะเดียวกัน ภาคเอกชนก็สามารถใช้ข้อมูลพื้นฐานตรงนี้เพื่อวางแผนในภาคธุรกิจ เช่นใช้ในการประเมินทำเลของการเปิดร้านสะดวกซื้อ ซึ่งตัวเลขจากการสำมะโนจะทำให้รู้ว่าบนพื้นที่นั้นมีคนหนาแน่นเพียงใด มีกลุ่มคนระดับไหน
          ผอ.จีราวรรณบอกอีกว่า การทำสำมะโนประชากรปีนี้ถือเป็นงานใหญ่ โดย ในวันสำมะโน คือวันที่ 1 กันยายน2553 จะมีการส่งคนลงพื้นที่ทั้งหมดเกือบ 7 หมื่นคน ใช้เวลาปฏิบัติงาน 1 เดือน
          “งานสำมะโนประชากรเป็นงานใหญ่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มเมื่อ 100 ปีที่แล้วศ.ปราโมทย์ ประสาทกุล ซึ่งค้นข้อมูลตรงนี้พบเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อ 100 ปีก่อนตัวอย่างเช่น
          “ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเรียกประชุมเสนาบดีตอน 3 ทุ่ม พระองค์ทรงเป็นประธานประทับที่หัวโต๊ะ รับสั่งว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องไพร่พลทั้งหลายในประเทศว่ามีเท่าไหร่ และรับสั่งให้ไปดำเนินการ เราจึงทราบว่าครั้งนั้นมีประชากร (ในสยามประเทศ) 8 ล้านคน ปัจจุบันตัวเลขคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 65-67 ล้านคน
          “การทำสำมะโนเมื่อ 100 ปีก่อนแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ ปีนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในงานครบรอบ 100 ปี การสำมะโนประชากร ซึ่งเราเรียกโครงการนี้ว่า “ร้อยปีสำมะโนประชากรไทย เทิดไท้องค์ราชันย์”
          ผอ.จีราวรรณยังบอกอีกว่า ในหลวงรัชกาลปัจจุบันก็ทรงสนพระทัยการทำสำมะโน เมื่อ 2 ครั้งที่แล้ว ปี 2533 กับปี 2543 โปรดฯให้เข้าเฝ้าฯถวายการรายงานและถวายการสัมภาษณ์
          “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือว่าทรงเป็นประชากรไทยคนหนึ่ง ปี 2543 พระราชทานสัมภาษณ์แก่คณะผู้บริหาร ซึ่งปีนั้นดิฉันได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯด้วย นอกจากโปรดฯให้เราถวายคำถามแล้ว ทรงมีพระราชดำริต่างๆ เกือบ 2 ชั่วโมง”
          ยกตัวอย่าง อย่างใน ปี 2533 ทางคณะกราบทูลถามว่า ในวังใช้เชื้อเพลิงหลักๆ ในครอบครัวคืออะไร พระองค์บอก “ใช้ไฟฟ้า” น้ำดื่มที่ใช้ในครัวเรือนนี้ปกติท่านดื่มจากที่ไหน น้ำบ่อ ประปา น้ำขวด พระองค์ตรัสว่า”น้ำขวด”พอพระราชทานสัมภาษณ์เสร็จ ท่านทรงมีดำริว่า ในวังนี้จะมีราชองครักษ์มาเยอะพระราชทานเลี้ยงอาหาร แต่มาแล้วก็กลับไปอย่างนี้นับว่าเป็นสมาชิกในครัวเรือนของพระองค์หรือเปล่า ฟังแล้วก็รู้ว่าพระองค์ทรงชี้แนะมาแล้วว่า นิยามต้องชัดเจน เพราะราชองครักษ์มาอยู่ที่นี่ ไม่ใช่สมาชิกในครัวเรือนนี้เราก็ต้องมากำหนดคำจำกัดความใหม่
          “ส่วนเมื่อปี 2543 ทรงเล่าว่า พระองค์สนพระทัยในงานสถิติมาก อย่างเวลาฝนตกก็จะโปรดฯให้นำกระป๋องมาตั้งๆๆ แล้วเอามาวัดปริมาณ แล้วก็เฉลี่ยก็ได้ปริมาณน้ำฝน รวมทั้งเวลาที่เสด็จฯทรงเยี่ยมพสกนิกรจะทรงใช้แผนที่ ซึ่งปีนี้ทางสำนักสถิติก็จะมีการถวายแบบสอบถามเข้าไปในวังเช่นเคย”

          “อยากให้ทุกคนเห็นความสำคัญของการทำสำมะโนประชากร และยอมสละเวลาเพียงแค่คนละ 10-15 นาทีต่อการให้สัมภาษณ์เพื่อว่าเราจะได้ตัวเลขมาใช้ในการวางแผนเพื่อการพัฒนา ประเทศ ถ้าใครไม่สะดวกที่จะให้สัมภาษณ์โดยตรง สามารถที่จะโทร.เข้าไปตอบแบบสอบถามได้ที่ สายด่วน 1111 หรือผ่านทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ www.nso.go.th เพื่อประเทศเราจะได้มีฐานข้อมูลดีๆ ไว้ใช้”
          ในการณ์นี้นอกจากการถามเกี่ยวกับเรื่องประชากร ผอ.จีราวรรณบอกว่า ยังมีการจัดทำเกี่ยวกับจำนวนที่อยู่อาศัยในประเทศไทยด้วยเพื่อให้ได้เป็น “การสำมะโนประชากรและเคหะ”เป็นการนับจำนวนและแจกแจงรายละเอียดของคนและที่ อยู่อาศัย ณ ที่ที่เราพบจริงๆ ในวันสำมะโน
          ด้วยเหตุนี้ในทุกสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งตามเพิงใต้สะพาน จะต้องเข้าไปตรวจดูว่ามีคนอยู่หรือไม่ เพราะถ้ามี ถือว่าเป็น”ที่อาศัย”ก็ต้องนับว่ามีคนอยู่จำนวนเท่าไร และคนที่อยู่นั่นเป็นใคร
          “สิ่งที่ท้าทายคือ เรามีปัญหาเรื่องแรงงานข้ามชาติมาก ทำอย่างไรจึงจะได้ตัวเลขที่ถูกต้องได้รายละเอียดที่ชัดเจน เราต้องพยายามหาทางทำเครือข่าย ทำการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงประโยชน์ของการให้ความร่วมมือตรงนี้”
          อีกกรณีตัวอย่างที่ผลจากการสำมะโนประชากรช่วยชี้ทิศทางในอนาคตของประเทศ อย่างชัดเจน คือความกังวลที่ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ”ซึ่งจากสถิติของประชากรผู้สูงอายุในปี 2546 อยู่ที่11% นั่นหมายความว่า คน 10 คนเดินมามีคนสูงอายุ 1 คน
          และคาดว่า ปี 2563 หรืออีก 10 ปีข้างหน้าประชากร 1 ใน 4 ของประเทศ (ประมาณ17-18%) จะเป็นผู้สูงอายุซึ่งไม่ว่าจะในแง่ของธุรกิจ หรือภาครัฐจะต้องมีแผนชัดเจนที่จะมารองรับ เพราะในขณะที่ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องมีเงินสำรองสำหรับให้ความ ดูแล โดยเฉพาะในส่วนของค่ารักษาพยาบาล
          “วันนี้คนที่รับภาระคือคนวัยทำงาน อายุ15-60 ปี ซึ่งในอนาคตคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นคนแก่ ขณะที่เด็กเกิดน้อยลง เพราะคนรุ่นใหม่ไม่อยากมีภาระ ไม่อยากแต่งงาน หรือ แต่งงานแล้วก็ไม่อยากมีลูก เมื่อนั้นจะเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย หนึ่งในนั้นคือ ปัญหาเรื่องแรงงาน ฉะนั้น ต้องจัดการเรื่องแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมาก เพื่อที่ว่าจะได้งานที่มากขึ้นด้วยจำนวนแรงงานที่น้อยลง”
          ผอ.สำนักสถิติย้ำว่า ปัญหาที่เกิดจากยุคผู้สูงอายุกำลังเกิดขึ้นแล้วกับหลายๆ ประเทศที่มีทัศนคติเรื่องการแต่งงาน การมีบุตรลดลง เช่นสิงคโปร์ ญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ฉะนั้น เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาเสียแต่เนิ่นๆประเทศไทยต้องเริ่มวางแผนการจัดการแล้ว ต้องเร่งรัดการวางแผนกำลังคนของประเทศให้ดีซึ่งเราจะได้เห็นภาพที่ชัดเจน ขึ้นหลังจากการทำสำมะโนประชากรครั้งใหม่นี้แล้วเสร็จลง ซึ่งผลจะปรากฏให้เห็นราวปลายปีนี้
          สภาพัฒน์ต้องลุกขึ้นมาวางแผนประชากรให้ดี เพราะเป็นเรื่องของโครงสร้างของประเทศซึ่งระยะเวลา 10 ปีนั้นไม่นานเลย–จบ–
 
          ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

มาดี มาทำสำมะโนประชากร ตอน: ชูใจเสียรู้

1-30 กันยายน นี้ มาดี มาทำสำมะโนประชากร

21 กรกฎาคม 2553

แนะนำ....คุณมาดี...


คุณมาดี ชุดสีชมพู สัญญลักษณ์ของการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553  เป็นตัวแทนของสำนักงานสถิติแห่งชาติที่จะพบเห็นอยู่บ่อยๆ  ในทุก พื้นที่ ทุกจังหวัดในช่วงวันที่ 1-30 กันยายน 2553 นี้
                            
ครบรอบ 100 ปีสำมะโนประชากรประเทศไทยในปี  2553 นี้   จึงถือเป็นการทำสำมะโนครั้งประวัติศาสตร์  และเป็นการทำสำมะโนยุคใหม่จริงๆ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงทั้ง  วิธีการ รูปแบบ อุปกรณ์เครื่องมือ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่งานสนามที่มาในรูปโฉมใหม่ "คุณ มาดี ชุดสีชมพู" เป็นรูปแบบการเข้าถึงประชาชนแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมใน ปัจจุบัน  ในอดีตประชาชนมักจะไม่รู้จักว่า  สำมะโนคืออะไร  ทำให้การทำสำมะ โนไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร  จึงเป็นที่มาของ คุณ มาดี ผู้ทำหน้าที่เสมือนตัวแทนสำนักงานสถิติแห่งชาติ  ที่ มาพร้อมกับสิ่งดีๆ ด้วยบุกคลิกที่เป็นมิตร สุภาพ และเป็นกันเอง
                            
ภาพลักษณ์ของ มาดี จะเชิญชวนให้ทุกท่านเปิดใจให้ข้อมูลต่างๆ ในการทำสำมะโนประชากรได้อย่างสบายใจ  รับประกันเรื่องข้อมูลรั่วไหล  ด้วย ช่องทางที่ท่านสามารถเลือกได้  4 ช่องทางคือ
                            
1)ให้มาดีสัมภาษณ์ที่บ้าน
2)กรอกแบบสอบถามเองแล้วส่งกลับคืน
3)กรอกข้อมูลทาง Internet ที่ www.nso.go.th
4)ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์หรือโทรไปที่หมายเลขโทรศัพท์  1111 กด 6
ถึงแม้การทำสำมะโนประชากรจะเริ่มทำกันมาแล้ว 100 ปี และวัตถุประสงค์ของการจัดทำแต่ละครั้งก็ไม่แตกต่างกันคือ  เพื่อรวบรวม ข้อมูลประชากรทุกคน ทุกชาติ ทุกภาษาที่อยู่จริงในประเทศไทย เพื่อการฉายภาพให้เห็นว่า  ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 ประเทศไทยมีประชากรอาศัยอยู่เท่าใด กระจายอยู่ที่ไหนบ้าง  เป็นชายเป็นหญิง เป็นเด็ก คนทำงาน คนแก่ คนพิการจำนวนเท่าใด มีการศึกษาระดับใดบ้าง  อาชีพอะไร มีความเป็นอยู่อย่างไร
เพื่อเน้นย้ำเรื่องความมั่นใจและสบายใจของพี่น้องที่ให้ข้อมูลทุก คน  เอกลักษณ์ของ มาดี ที่สังเกตเห็นได้ง่ายๆ คือการใส่เสื้อและหมวกแก็ปสีชมพู  อันเป็นสีแห่งมงคลของปวงชนชาวไทย พร้อมโลโก้ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาดี  ที่เห็นในสื่อประชาสัมพันธ์อาจเป็นผู้ชายแต่ในการปฏิบัติงานจริงนั้น มาดี  จะมีทั้งหญิงและชาย แต่ทุกคนยังคงยึดต้นแบบของบุคลิกที่มีความเป็นมิตร สุภาพ  ยิ้มแย้มแจ่มใสกับพี่น้องผู้ให้ข้อมูลทุกคน
ที่สำคัญทุกครั้งที่ มาดี ออกไปปฏิบัติงาน  จะต้องมีบัตรประจำตัวพนักงาน ซึ่งมีรูปและเลขที่บัตรอย่างชัดเจน ถ้าเห็นแบบนี้แล้ว  มั่นใจได้เลยว่าเป็น มาดี ตัวจริงเสียงจริงอย่างแน่นอน  ทุกท่านจะพบกับ "คุณมาดี ชุดสีชมพู" ตัวแทนจากสำนักงานสถิติแห่งชาติลงพื้นที่จริงกว่า 70,000 คน พร้อมกันทุกจังหวัด  ทั่วประเทศ ในวันที่ 1-30 กันยายนนี้    "สวัสดีครับ  ผม มาดี มาทำสำมะโนประชากรครับ"

9 กรกฎาคม 2553

'ไอซีที' ทำเว็บรวมบริการออนไลน์รัฐ

ไอซีที คุยรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คืบหน้า คาดหลัง ก.พ. 2554 เปิดเว็บท่ารวมบริการออนไลน์หน่วยงานรัฐ

นายชัยโรจน์ จิรพัฒนเกียรติ ผู้ อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (อี-เซอร์วิส) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมบริการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำมาให้บริการบนเว็บไซต์ www.egov.go.th ซึ่งเป็นเว็บท่า หรือเว็บไซต์กลาง ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้น เบื้องต้นจะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการประมาณเดือน ก.พ. 2554

นาย ชัยโรจน์ กล่าวว่า ปัจจุบันบริการอี-เซอร์วิสที่ไอซีทีรวบรวมไว้ให้บริการมี 24 บริการ ซึ่งตามแผนการดำเนินงานสิ้นปีนี้จะทำแบบสอบถามเพื่อแจ้งไปยังหน่วยงานภาครัฐ ต่าง ๆ แล้วรวบรวมข้อมูลบริการออนไลน์มาไว้ให้บริการผ่านเว็บท่า ส่วนบริการที่ต้องติดต่อโดยตรงกับหน่วยงานราชการ จะนำมาเสนอบนเว็บไซต์ด้วย เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

“ความคาดหวังในการให้บริการ อี-เซอร์วิสของหน่วยงานภาครัฐ คือ การทำให้ประชาชนสะดวกในการติดต่อราชการ ซึ่งมากกว่าเวลาทำการปกติ และสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง” นายชัยโรจน์ กล่าว.

ที่มา: www.dailynews.co.th

8 กรกฎาคม 2553

มหกรรมแห่เทียนพรรษา 83 ไอรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน

จังหวัดสุรินทร์กำหนดจัดงาน” มหกรรมแห่เทียนพรรษา 83 ไอรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน “ และตักบาตรบนหลังช้างอย่างยิ่งใหญ่เหมือนเช่นทุกปีในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา (8/7/2010)
จังหวัดสุรินทร์จัดงาน” มหกรรม แห่เทียนพรรษา 83 ไอรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน “ อย่าง ยิ่งใหญ่เหมือนเช่นทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 83 พรรษา และส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ โดยร่วมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และส่วนราชการ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจังหวัดสุรินทร์ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 24 - 26 ก.ค. 2553 อย่าง ยิ่งใหญ่เหมือนเช่นทุกปี ทั้งนี้เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาตลบ 83 พรรษา และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสุรินทร์ โดยจัดให้มีกิจกรรมต่างๆมากมายประกอบด้วย วันที่ 24 ก.ค. 2553 เวลา 15.00 น. ฟังการบรรยายธรรม จากทีมงาน “ ธรรมมะ Delivery “ โดยพระครูวินัยธรชาติ ( พระมหาสมปอง ) ซึ่งจะมีนักเรียนร่วมปิบัติธรรม จำนวน 1,500 คน เวลา 18.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ ดยพระสงฆ์สมณศักดิ์ 84 รูป และอธิฐานจิต ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และกิจกรรมการปฏิบัติธรรมภาวนา วันที่ 25 ก.ค. 2553 เวลา 08.30 น. มีการจัดขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดกลางสุรินทร์มาประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีหน้าศาลากลางจังหวัด 09.00 น. เป็นต้นไปจัดให้มีกิจกรรม ประกวดสวดทำนองสรภัญญะของนักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป การประกวดโต๊ะหมู่บูชา ประกวดบรรยายธรรมะ นิทรรศการทางพระพุทธศาสนา และโรงทานเฉลิมพระเกียรติ ในช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป จัดให้มีขบวนแห่เทียนพรรษาอย่างยิ่งใหญ่จากคุ้มวัดต่างๆในเขตเทศบาลเมือง สุรินทร์ และ อ. เมืองสุรินทร์จำนวนกว่า13 คุ้มวัดที่ตกแต่ง สวยงามอลังการ พร้อมทั้งจัดขบวนแห่ที่แสดงออกถึงวัฒนธรรม ขนมธรรมเนียมประเพณี การละเล่นพื้นบ้านของชาวจังหวัดสุรินทร์ และ ติดตามด้วยขบวนช้างที่เป็นไฮไล้ของงานที่ไม่เหมือนใครซึ่งแสดงออกถึงจังหวัด สุรินทร์ถิ่นเมืองช้าง มีการตกแต่งอย่างสวยงาม ด้วยสีเงิน สีทอง และหลากสี พร้อมทั้งประดับไฟระยิบระยับแพรวพราวอย่างสวยงาม มีพระพุทธรูปประจำจังหวัดสุรินทร์ พระบรมสารีริกธาตุ พระ บรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อยู่บนหลังช้าง พร้อมทั้งขบวนช้างที่มีพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะใช้ช้างจำนวนทั้งสิ้น 83 เชือก และขบวนประชาชนนุ่งขาว ห่มขาวถือธูปเทียนดอกไม้ และแต่งกายในชุดแสดงออกถึงความจงรัก พักดี ต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เข้าร่วมขบวนอีกกว่า 1,000 คน โดยขบวนเริ่มจากบริเวณหน้าค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์ เคลื่อนขบวนไปตามถนนสายต่างๆในเขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ ผ่านอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง เพื่อให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้ชม และไปสิ้นสุดขบวนที่หน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ เพื่อจัดกิจกรรมเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุ วันที่ 26 ก.ค. 53 ตั้งแต่เวลา 07.00 น. จัดให้มีพิธีทำบุญตักบาตรบนหลังช้างที่ยิ่งใหญ่ มีแห่งเดียวในโลกที่จังหวัดสุรินทร์ โดยจัดขึ้นที่บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดขึ้นในเทศกาลวันเข้าพรรษาของในแต่ละปี และเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดควบคู่กับงานมหกรรมแห่เทียนเข้าพรรษา 83 ไอราเทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน ซึ่งในแต่ละปีจะมีประชาชน และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมในการทำบุญตักบาตร กัน อย่างคึกคักเป็นจำนวนมาก และในปีนี้จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว และประชาชนทั่วไปเที่ยว ชมและร่วมในกิจกรรมดังกล่าวได้ระหว่างวันที่ 24 – 26 ก.ค. 2553 นี้

3 กรกฎาคม 2553

เปิดตัวโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมและเปิดตัวโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พร้อมมอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมประชุม จัดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ

วันนี้(2 ก.ย.53) เวลา 09.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการประชุมและเปิดตัวโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 พร้อมมอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมประชุม จัดโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยมีนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ว่าราชการจังหวัด เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ โรงแรมรามา การ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร

29 มิถุนายน 2553

สถิติมีประโยชน์

27 มิถุนายน 2553

จังหวัดสุรินทร์จัดเวทีเสวนา 10 ปี เกษตรอินทรย์วิถีสุรินทร์

เกษตรกร และผู้สนใจชาวจังหวัดสุรินทร์เป็นจำนวนมากร่วมเวทีเสวนา 10 ปี เกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์ ที่ห้องประชุมศรีณรงค์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ วันที่ 25 มิ.ย. 2553 ทั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไปจังหวัดสุรินทร์จัดให้มีเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ “ เมืองสุรินทร์เมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ “ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงาน “ มหกรรม 10 ปี เกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์ “ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 มิ.ย. 2553 ซึ่งในการจัดเวทีเสนาในครั้งนี้มีทีมวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์ร่วมเสวนาจำนวนหลายคนซึ่งประกอบด้วย นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ อดีผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และประธานสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์สุรินทร์ นายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พระครูพิพิธประชานาถ ( หลวงพ่อนาน ) นายเอียด ดีพูน นายสัมฤทธิ์ บุญสุข นายเชียง ไทยดี และนางกัญญา อ่อนศรี ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดสุรินทร์ ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางและทิศทางการทำการเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์สู่ความยั่งยืนในอนาคต ท่ามกลางพี่น้องชาวชาวเกษตรกร และผู้สนใจชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก สำหรับจังหวัดสุรินทร์ ได้มีนโยบายเมืองเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งภาครับและเอกชนได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ทั้งด้านการผลิต การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการตลาดมากกว่า 10 ปี

บทบาทของสำนักงานสถิติแห่งชาติกับความคาดหวัง ของสังคม

สสช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บทบาทของสำนักงานสถิติแห่งชาติกับความคาดหวัง ของสังคม เมื่อวันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ๙ โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เป็นประธาน

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะสำนักงานสถิติแห่งชาติจะได้รับรู้ความคิดเห็นของสังคมทุกภาคส่วนเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของสังคมมากที่สุด

25 มิถุนายน 2553

เปิดศัพท์โบราณที่ยังไม่ตาย "ชุมรุม" ในบริบท "โพลปรองดองแห่งชาติ" ของ ส.ส.ช.

คำว่า "ชุม รุม" ไม่คุ้นหูคนรุ่นใหม่แม้แต่น้อย ส่วนคนรุ่นเก่าคิดว่าคำนี้คงจะตายไปแล้ว แต่จู่ๆ กลับปรากฏอยู่ในแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (โพล) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่รัฐบาลมอบหมายให้สำรวจเพื่อใช้ประกอบแผนปรองดองแห่งชาติ และโรดแมปปฏิรูปประเทศ

แบบสำรวจระบุว่า "ในการสุ่มตัวอย่างแบบสอบถาม ระบุขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 6,728 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน ตามบัญชีรายชื่อ BLK หมู่บ้านทั่วประเทศ...รวมทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านใน 76 จังหวัด กำหนดขนาดตัวอย่างเท่ากันคือ 15 ครัวเรือนต่อชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100,920 ตัวอย่าง"

คำว่า "ชุมรุม" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า "ที่พัก ที่อาศัย" ส่วน "ชุม รุมอาคาร"

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Block มีความหมายว่า "เขต ปฏิบัติงานในเขตเทศบาล" ซึ่งสำนัก งานสถิติฯกำหนดขึ้นโดยแบ่งเขตจากแผนที่การทำงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ใน 1 เขตชุมรุมอาคาร ประกอบด้วยจำนวนบ้าน 100-250 หลังคาเรือน ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯทั้งหมดจัดอยู่ในเขตเทศบาล จึงใช้หน่วยสำรวจเป็น "ชุมรุมอาคาร" ทั้งหมด ขณะที่ที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด โดยเฉพาะนอกเขตเทศบาลนั้น กำหนดหน่วยเป็นหมู่บ้าน

23 มิถุนายน 2553

แบบสอบถามความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นตอบแบบสอบถามโครงการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2553 ดังนี้
  • การตอบแบบสอบถามให้กาเครื่องหมาย ใน หรือในช่องว่างของคำถามในตาราง ที่คำตอบตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด หากคำถามใดที่ท่านคิดว่า “ ไม่พอใจ”  “ ไม่เหมาะสม”  “ ไม่เพียงพอ” หรือ “ ไม่เห็นด้วย
    โปรดให้รายละเอียด ที่ท่านมีความคิดเห็นต่อคำถามแต่ละข้อ
  • สำหรับข้อที่ตอบได้ไม่เกิน 3 ข้อ ให้ท่านตอบในเรื่องที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุด
  • ขอให้ท่านส่งแบบที่บันทึกแล้วมายัง E–Mail ngamthip@nso.go.th ภายใน วันที่ 28 มิถุนายน 2553
ขอขอบคุณในความร่วมมือของท่านมา ณ โอกาสนี้
           หากท่านมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับแบบสอบถาม โปรดติดต่อสำนักงานสถิติแห่งชาติ โทร 02- 143- 1431
           คุณสุจารีต โภคาพันธ์ คุณไพเราะ สิมเสมอ และคุณสมจิตร สุขสกุลณี
        ดาวน์ โหลดแบบสอบถาม
          ความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ และแผนการสุ่มตัวอย่าง

สุรินทร์ข้าวหอมมะลิกว่า 3 ล้านไร่ กำลังเหี่ยวแห้งตายหลังฝนทิ้งช่วง

ในหลายพื้นที่ของ จ.สุรินทร์ กำลังประสบปัญหาต้นกล้าข้าวเริ่มเหี่ยวแห้งตายเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง และมีวัชพืชขึ้นมาปกคลุมนาข้าวเป็นจำนวนมาก หลังจากในขณะนี้ฝนเริ่มทิ้งช่วงมานานกว่า 1 เดือน ส่งผลให้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิโลก ของ จ.สุรินทร์ ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3 ล้านไร่ กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักทั้งนี้ จ.สุรินทร์ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ กข. 105 โดย จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทั้งจังหวัดกว่า 3 ล้านไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 1 ล้านตัน/ปี สร้างรายได้ให้เกษตรกรนำเม็ดเงินเข้าจังหวัดปีละกว่า 10,000 ล้าน บาท กรณีภัยแล้งดังกล่าว กำลังจะส่งผลกระทบต่อจำนวนผลผลิตของข้าวหอมมะลิโลกที่จะออกสู่ตลาดลดน้อยลง ใน ขณะที่พี่น้องชาวไร่ชาวนาชาวจังหวัดสุรินทร์ กำลังประสบกับปัหาฝนทิ้งช่วงและภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อกล้าข้าวที่กำลังงอกและเติบโตอย่างมาก เนื่องจากไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้น และบางพื้นที่กำลังเหี่ยวแห้งตาย ชาวนา จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือด้วย หรือทำฝนเทียมให้ด้วย เพราะต้นข้าวกำลังขาดน้ำหากฝนยังไม่ตกอีกคาดว่าไม่น่าจะเกินอีก 2 สัปดาห์ ต้นข้าวต้องตายหมด

ในขณะที่อ่างเก็บน้ำอำปึล ต.เทนมีย์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เจอวิกฤตหนักสุดในรอบ 20 ปี ปริมาณน้ำเหลือไม่ถึง 40 % ของความจุจำนวน 27 ล้านลูกบาศก์เมตร อีก ทั้งยังไม่สามรถปล่อยระบายน้ำช่วยเหลือข้าวของชาวนาที่อยู่ท้ายอ่างฯที่มี อยู่กว่า 1 พันไร่ได้ ซึ่งนาข้าวที่ต้นกล้ากำลังงอกและเจริญเติบโตต่างได้รับผลกระทบเริ่มไม่มีน้ำ หล่อเลี้ยงต้นข้าว คาดอีกไม่เกิน 15 วันหากฝนไม่ตก ต้นกล้าข้าวจะต้องเหี่ยวแห้งตายเช่นกัน

22 มิถุนายน 2553

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิด ททท. สำนักงานที่สุรินทร์

การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดสำนักงาน ททท. สำนักงานสุรินทร์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆใน ท้องถิ่น ในกาส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม วันที่ 21 มิ.ย. 2553 นายสุรพล เศวตเศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการเปิดอาคารที่ทำการ สำนักงาน ททท. สำนักงานสุรินทร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่น ทั้งถาครัฐ และเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม โดยรับผิดชอบพื้นที 3 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อม โยงระหว่างจังหวัดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้กิจกรรมด้านประเพณีและ วัฒนธรรม เช่น งานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ งานมหัศจรรย์เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ งานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทย จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดจนสร้างการรับรู้ความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ เส้นทางตามรอยอารยธรรมขอม เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในปี 2553 แนวโน้มนักท่องเที่ยวดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูมิภาคจำนวน กว่า 18 ล้านคนครั้ง ซึ่งมีรายได้ประมาณ 40,600 ล้านบาท

ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน พ.ศ. 2553

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโดยชุมชน/หมู่บ้าน ความพึงพอใจต่อมาตรการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุสำคัญและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนความกังวลกับภาวะโลกร้อน กิจกรรมที่ทำเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน และมาตรการที่สำคัญของภาครัฐ ตลอดจนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามนโยบาย ประเมินผล และปรับปรุง
การดำเนินงานต่อไป โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกจังหวัด ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่าง3,900 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 – 20 เมษายน 2553 และเสนอผลสำรวจในระดับกรุงเทพมหานคร ภาค และทั่วประเทศ ในรูปร้อยละ

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (418 KB)
รายงานผลการสำรวจ (1.09 MB)

21 มิถุนายน 2553

สสช. เตรียมความพร้อม สํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. ๒๕๕๓

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. ๒๕๕๓ และการประชุมปรึกษาหารือ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ รอบ ๒” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุม ๓-๐๓ ชั้น ๓ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

จากสถานการณที่ผ่านมาทําให้สํานักงานสถิติแห่งชาติมีความจําเป็นต้องเลื่อนการจัดสํามะโนประชากรฯ จากเดิมวันที่ ๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เป็นวันที่ ๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ถูกต้องและเป็นจริงมากที่สุด เพราะปัจจุบันการทํางานทุกภาคส่วนหันมาให้ความสนใจด้านข้อมูล และสํานักงานสถิติแห่งชาติต้องผลิตข้อมูลที่มีคุณภาพเท่านั้น ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติกล่าว

18 มิถุนายน 2553

หญิงไทยแต่งงานเร็วขึ้นที่อายุโดยเฉลี่ย 22 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจหญิงไทยปัจจุบันแต่งงานเร็วขึ้น โดยมีอายุเฉลี่ย 22 ปี
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมอนามัย และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์และการดูแลสุขภาพของผู้หญิงในวัยเจริญ พันธุ์ทั่วประเทศนับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน พบผู้หญิงไทยมีการสมรสโดยเฉลี่ยเร็วขึ้น และมีอายุน้อยลงในทุกปี คือ จากอายุเฉลี่ยที่ 23.1 ปี ในปี 2549 เป็น 22.2 ปี ในปัจจุบัน และยังพบด้วยว่า ผู้หญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลสมรสเร็วกว่าผู้หญิงที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่เสมอ นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ก่อนแต่งงาน ผู้หญิงอายุ 15–49 ปีโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ หรือสามี ได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว จากบุคลากรสาธารณสุข เพียงร้อยละ 15 และได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมีย ร้อยละ 19.4 และหาเชื้อ HIV เพียงร้อยละ 20.9

ทำสำมะโนประชากรไปทำไม? ใครรู้บ้าง!


"100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย"
1-31 กันยายน 2553
พบกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
พร้อมกันทั่วประเทศ

11 มิถุนายน 2553

สถจ.สร. จัดประชุมโครงการ สปค. 53 ให้กับเจ้าหน้าที่

ตามที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ โดยการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 และเป็นวาระครบรอบร้อยปี ของการจัดทำสำมะโนของประเทศไทย โดยกำหนดคาบการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับ จำนวน และลักษณะของประชากรทุกคนในครัวเรือน ณ ที่อยู่ปกติที่พบวันสำมะโน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของที่อยู่อาศัยของประชากรซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหารและใช้ในการ ประมาณประชากรในอนาคต

การอบรมครั้งนี้ ใช้เวลาในการชี้แจง 4 วัน ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานโครงการ สปค. 53 จำนวน 30 คน และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 21 คน ระหว่างวันที่ 7 - 10 มิถุนายน 2553 ณ ห้องราชาวดี สวนป่ารีสอร์ท เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...