โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

31 มกราคม 2553

การพัฒนาระบบสถิติในประเทศ

ศาตราจารย์ ดร. บัณฑิต กันตะบุตร F.S.A.T
ศาตราจารย์กิตติคุณในวิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Fello of The American Statistical Association
จากหนังสือ 30 ปี สู่วิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สถิติคืออะไร
สถิติ คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจต่อปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างมีหลักการและถูกต้องที่สุด ความเข้าใจเช่นนี้ไกลจากความเข้าใจของคนทั่วไปในอดีตอย่างมากมาย ในอดีตนั้น ประชาชนมักจะเข้าใจว่า สถิตินั้นเป็นเพียงข้อมูลตัวเลข ผู้ที่จะมาทำงานสถิติมีพื้นความรู้เพียง บวก ลบ คูณ หารก็พอ ซึ่งแท้จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ ผลงานของนักสถิติต่างๆ เริ่มตั้งแต่ Karl Pearson ใน ค.ศ. 1900ตามมาด้วยผลงานของ W.S. Gosset (Student) ; R.A. Fisher, Jersey Neyman, E.S. Pearson จนกระทั่งถึงผลงานของ B.Efron เมื่อ ค.ศ. 1979 ล้วนแล้วแต่ทำให้เห็นชัดว่า สถิติเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ซึ่งจะอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลข ที่ได้มาเพื่อประโยชน์ในการตัดสินที่ถูกต้องที่สุด

การ สถิติของประเทศไทย ได้กำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเกือบ 80 ปี มาแล้ว ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2457 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง "กรมสถิติพยากรณ์" ขึ้นเป็นหน่วยราชการมีฐานะเป็นกรม ภายใต้กระทรวงการคลังมหาสมบัติ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 37 ลงวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยมีเสด็จในกรมกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล ตัวเลขทะเบียน และรายงานต่างๆ ของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อประโยชน์ใช้ในราชการ เวลาผ่านไปประมาณ 20 ปี หลังจากนั้นกิจกรรมในเชิงสถิติของกรมนี้ลดน้อยลงไปมาก เนื่องจากขาดทั้งคนและงบประมาณ ในระยะนี้มีการเปลี่ยนแปลงสถานภาพ และสังกัดหลายครั้งหลายหน ระหว่างกระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์ งานที่ทำสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอัน ออกเผยแพร่แก่ประชาชนทั่วไป ก็มีเพียงการรวบรวมข้อมูลสถิติประชากร เศรษฐกิจและการค้า จัดพิมพ์เป็นเล่ม ในลักษณะรายงานสถิติประจำปี เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2459 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ เสนอข้อมูลเบื้องต้น ทั้งหมด 90 ตารางด้วยกัน ตลอดระยะเวลาอันค่อนข้างยาวนานดังกล่าว มิได้มีการทำสำมะโน หรือสำรวจใดๆ เลย กิจกรรมต่างๆ ในเชิงสถิติก็ยังคงถูกจำกัดในวงแคบๆ โดยขาดบุคลากรและงบประมาณ ที่เหมาะสมเช่นเดิม คงจะเป็นที่จำกันได้ว่า สถิติเป็นของที่ใหม่มากในสมัยนั้น ผู้ที่สนใจในข้อมูลตัวเลขก็น้อยเต็มที่ แม้แต่ในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ความสนใจสถิติอย่างจริงจังก็ไม่มี จนกระทั่งหลังจากที่เกิด ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างมาก เมื่อ ค.ศ. 1932 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2475 แล้ว นักเศรษฐศาสตร์จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้อง อาศัยข้อมูลตัวเลขนานาชนิด เพื่อการวางแผนฟื้นฟูภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ส่วนประเทศไทยนั้น สถานภาพ ของการสถิติของชาติ ยังคงซบเซาตลอดเรื่อยมา จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อ พ.ศ. 2485

ยุคทองของการสถิติของประเทศไทย ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2495 เหตุผลที่กิจการสถิติ เริ่มได้รับความสนใจอย่างจริงจัง ก็เพราะในระยะเวลานั้นประเทศไทย อยู่ในภาวะต้องเร่งพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างมากมายและเร่งด่วน หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดลง ซึ่งประเทศได้รับความเสียหายอย่างมาก จากภาวะสงครามดังกล่าว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่ง ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และองค์การสหประชาชาติ ในการยืมเงินมาลงทุนซ่อมถนนหนทาง และตึกปรักหักพังไปในระหว่างสงคราม ตลอดจนส่งข้าราชการไปศึกษา และดูงานในสาขาวิชาต่างๆ เพื่อที่จะได้ความรู้ที่ทันสมัย กลับมาช่วยฟื้นฟูประเทศ รัฐบาลมีความจำเป็น ที่จะต้องมีสถิติพื้นฐานต่างๆ หลายรายการด้วยกัน เช่น สถิติประชากร ผลิตผลเกษตร และอุตสาหกรรมนานาชาติ รายได้ประชาชาติ ฯลฯ เพื่อให้ธนาคารโลก รัฐบาลสหรัฐอเมริกา และสถาบันอื่นๆ นำไปใช้ประกอบการพิจารณาเงินกู้ ของรัฐบาลไทย

ใน ปี พ.ศ. 2495 นั้น รัฐได้ออกพระราชบัญญัติสถิติ 2495 ขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ของรัฐออกไป อย่างกว้างขวางกว่าเดิมเป็นอันมาก ทั้งในด้านการบริหารกิจกรรมสถิติ การส่งเสริมประสานงาน สถิติ การทำสำมะโนประชากร การสำรวจนานาชาติ การศึกษาอบรมสถิติ ตลอดจนด้านการวิจัยในด้านวิชาการ รัฐบาลได้จัดตั้ง สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรีในเดือนกันยายน พ.ศ. 2502 และได้สั่งให้ ยกฐานะของกรมสถิติพยากรณ์ ขึ้นเป็นสำนักงานสถิติกลาง กลับมีฐานะเท่ากรม เป็นส่วนหนึ่งของ สำนักงานเลขาธิการพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งเป็นทบวงการเมืองอิสระ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวนี้ สำนักงานสถิติกลางได้ดำเนินการ รวบรวมข้อมูลสถิติหลายโครงการ ซึ่งสำเร็จลงได้ด้วยดี เพราะส่วนหนึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดี จากสหประชาชาติและรัฐบาลอเมริกัน ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำดำเนินการ ในบรรดาผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ซึ่งรัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือจากสถาบันต่างๆนั้น มีผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งจากสหประชาชาติ คือ ศาสตราจารย์ ฟิลลิป เฮาเซอร์ มาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในสหรัฐอเมริกา และเคยดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการทบวงสำมะโนประชากร U.S. Bureau of Census) ของสหรัฐอเมริกามาก่อน ท่านผู้นี้ได้เป็นผู้ที่มีบทบาท สำคัญยิ่งที่ได้ช่วยให้รัฐบาลไทย เห็นความสำคัญของสถิติ ซึ่งมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และเริ่มยินดี ที่จะสนับสนุนกิจกรรมสถิติ ด้วยงบประมาณเป็นจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยคาดฝันมาก่อน

ต่อมาเพื่อที่จะให้ ราชการสถิติของชาติก้าวรุดหน้าไปรวดเร็วกว่าเดิม รัฐเห็นสมควรให้สำนักงานสถิติกลาง แยกออกจากสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ และเลื่อนฐานะขึ้นเป็น สำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Statistical Office) แต่ยังคงมีฐานะเท่ากรม เช่นเดิม เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ซึ่งถือว่าเป็นวันก่อตั้งสำนัก งานตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 80 ตอนที่ 50 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2506 ในการนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติไทย ได้ขยายด้านกำลังเจ้าหน้าที่จาก 5 กอง เป็น 9 กอง เพื่อรองรับงานที่เพิ่มขึ้น

จากการที่โครงการ พัฒนาสถิติ ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ งานสถิติสำคัญของระดับชาติ จึงประสบความสำเร็จด้วยดีหลายประการ เริ่มด้วยสำมะโนประชากร 2503 (ค.ศ. 1960) ซึ่งทำตามคำเชื้อเชิญของสหประชาชาติ ขอให้บรรดาประเทศสมาชิก จัดทำสำมะโนประชากรทุก 10 ปี ในปี ค.ศ. ที่จบ ลงด้วย "0" งานชิ้นแรกที่สำเร็จได้ผลอย่างดียิ่ง โดยปรากฏจากผลของการทดสอบ ความถูกต้องหลังสำมะโน ว่ามีความถูกต้องใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากการปฏิบัติงานอย่างทันสมัย และช่วยให้ได้ผลออกเผยแพร่ในช่วงระยะเวลาอันรวดเร็ว

ความ สำเร็จซึ่งได้จากการทำสำมะโนประชากร 2503 นั้น ได้สร้างความเชื่อถือในการปฏิบัติงานของสำนักงานสถิติ ยิ่งกว่าเดิมเป็นอันมาก ซึ่งช่วยให้สำนักงานได้รับการสนับสนุน จากรัฐบาลในด้านงบประมาณ การเงินและกำลังคนเพียงพอใน 10 ปีที่ตามมาคือ 2503 - 2513 นั้นการสถิติของชาติได้ขยายออกไปกว้างอย่างมากมาย นอกเหนือจากสำมะโนประชากร 2503 แล้วสำนักงานยังได้ทำสำมะโนอื่นๆ อีก คือ สำมะโนเกษตร (2506) และสำมะโนอุตสาหกรรม (2507) สำมะโนธุรกิจและบริการ (2509) ส่วนงานสำรวจนั้น ก็สำเร็จไปด้วยดีหลายโครงการด้วยกัน เช่น การสำรวจการปลูกข้าว การสำรวจความเปลี่ยนแปลงของประชากร การสำรวจแรงงาน และการสำรวจการใช้จ่ายของครอบครัว เป็นต้น งานสถิติได้ขยายออกไปต่างจังหวัด ขึ้นหลายจังหวัด โดยจัดตั้งสำนักงานสถิติตามจังหวัดที่สำคัญ ทั่วราชอาณาจักร แต่ละสำนักงานมีเจ้าหน้าที่ประจำประมาณ 5-10 คน โดยมีสถิติจังหวัดเป็นหัวหน้า มีหน้าที่ปฏิบัติงานสถิติตามท้องถิ่น ตามคำสั่งของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และให้ความร่วมมือแก่หน่วยราชการอื่นๆ และเอกชน ในจังหวัดนั้นๆ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลเป็นที่พอใจ ความสำเร็จในโครงการพัฒนาสถิติของรัฐบาลสมัยนั้น นำความชื่นชอบมาให้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอันมาก

ใน ขณะเดียวกันกับที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเริ่มงานใหม่ๆ สำนักงานก็ได้ขอความร่วมมือจากรัฐบาลอเมริกันและสถาบันอื่นๆ เช่น สหประชาชาติ สหราชอาณาจักร จัดหาคนศึกษาและดูงานสถิติศาสตร์ และสาขาที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากกว่า 150 คน ในช่วงเวลา 10 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2503 - 2513 เพื่อคนไทยจะได้สามารถรับงานต่อ จากบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศหลายท่าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการบริหารงานสถิตินานาชนิดอยู่ในขณะนั้น

หน้าที่ สำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งได้ระบุใน พ.ร.บ. สถิติ 2495 ก็คือสำนักงานสถิติแห่งชาติ จะต้องส่งเสริมการอบรม และศึกษาวิชาสถิติให้ได้ระดับมาตรฐานสากล ทั้งนี้โดยเหตุที่ความหมายของคำว่า "สถิติ" นั้น มีความหมายแตกต่างและกว้างขวาง กว่าที่เคยเข้าใจกันว่าเป็นแต่เพียงข้อมูลตัวเลขเท่านั้น เพราะสถิติยังหมายถึงศาสตร์ ซึ่งจะใช้วิเคราะห์ ข้อมูลตัวเลขที่เก็บได้มาอีกด้วย เพื่อที่จะได้มาซึ่งข้อยุติ ที่จะช่วยในการตัดสินใจในกรณีที่มีปัญหา ความหมายที่สองของคำว่า "สถิติ" จึงหมายความว่าสถิติเป็นศาสตร์ (Science) อย่างหนึ่งนั่นเอง ฉะนั้นการเก็บข้อมูลตัวเลข จึงมีจุดประสงค์สองประการ คือนอกจากจะนำมาช่วยในการบริหารธุรกิจประจำวัน เช่น กำหนดตารางเดินรถโดยสารประจำทาง แล้วจุดประสงค์ของการเก็บข้อมูลตัวเลข อีกประการหนึ่งก็คือ จะนำมาวิเคราะห์ตามหลักวิชาสถิติ เพื่อหาข้อมูลยุติที่จะช่วยการตัดสินใจ ความหมายสองประการทำนองนี้ สำหรับศาสตร์อื่นๆ ก็เช่นกัน เป็นต้นว่า "คณิตศาสตร์" นั้น นอกจากจะหมายความ ถึงข้อมูลตัวเลขแล้ว ยังหมายถึงวิชาการ ซึ่งเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งด้วยทำนองเดียวกันนี้คำว่า "บัญชี" นั้น นอกจากจะหมายถึงงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนแล้ว ยังหมายถึงหลักวิชาการบัญชี อีกด้วย

เพื่อที่จะสนองการกำหนดหน้าที่ศึกษาวิชา สถิติดังกล่าว ซึ่งจำเป็นจะต้องศึกษาในมหาวิทยาลัย และต้องใช้เวลานาน ถึง 4-7 ปี เช่นเดียวกันกับอาชีพอื่น เช่น กฎหมาย แพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์นั้น สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้ติดต่อกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอความร่วมมือให้มีการเปิดสอนวิชาสถิติอย่างกว้างขวาง ในคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี โดยเปิดภาควิชาสถิติขึ้นเริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2496 ตามหลักสูตรของพาณิชยศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาสถิติ นิสิตจะแยกจากหลักสูตรพาณิชยศาสตร์ธรรมดา เพื่อเรียนหนักในกลุ่มวิชาสถิติในปีที่ 3 และ 4 ปรากฏว่าในปีการศึกษา 2497 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีนิสิตจบหลักสูตร พศ.บ (สถิติ) นั้นมีเพียง 3 คน ในปีต่อ ๆ มาจำนวนที่จบก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ บางปีมีถึง 70 คน อย่างไรก็ดี หัวหน้าภาควิชาสถิติขณะนั้น สำนึกอยู่เสมอว่า แม้ว่าหลักสูตร พศ.บ จะสามารถผลิตบัณฑิตผู้ที่มีความรู้ ทางวิชาการสถิติลึกซึ้งพอสมควรก็จริง แต่ยังน่าจะหาทางปรับปรุงหลักสูตร ให้เข้มแข็ง เพื่อที่จะได้เหมาะสมกับปริญญาทางสถิติศาสตร์โดยตรง โดยเน้นหนัก ในวิชาคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และคณิตศาสตร์สถิติระดับสูง จึงได้ติดต่อกับ Mr. Waller Wynne Jr. ผู้แทนขององค์การ AID ของสหรัฐอเมริกาเพื่อ ขอความช่วยเหลือ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยร่างหลักสูตร ปริญญาตรี ทางสถิติ โดยมีมาตรฐานทัดเทียมมหาวิทยาลัย ต่างประเทศ ซึ่งมีการศึกษาดีในด้านนี้ ทางองค์การ AID ก็ยินดีตอบสนองการขอร้องขอความร่วมมือโดยจัดหา IBM 1620 คอมพิวเตอร์ มาให้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย การนำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาในประเทศครั้งนี้ มีส่วนช่วยในการพัฒนาสถิติของประเทศเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านการปฏิบัติงานสำมะโนและสำรวจ และในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ เมื่อเครื่อง IBM 1620 เข้ามาติดตั้งอยู่ ณ ภาควิชาสถิตินั้น หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่งเจ้าหน้าที่มาดูการ ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี

ต่อจากนั้นกิจกรรม ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวกับการใช้เครื่องสมองกลก็ได้เริ่มขึ้น ปรากฏว่าหลักสูตร Major ทาง Computer Science เป็นแขนงวิชาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแขนง วิชาหนึ่ง ตั้งแต่ปีการศึกษาแรกเป็นต้นมาตราบจนทุกวันนี้ เป็นเวลาหลายปี ระยะแรกๆ นอกจากจะเปิดใช้ในการสอนนิสิตของภาควิชาเองแล้ว นิสิตและอาจารย์ภาควิชาอื่นๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดจนข้าราชการบุคคลอื่นทั่วไป ยังได้ร่วมเข้ามาใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ โดยเสียค่าบริการในอัตราเพียงเล็กน้อยอีกด้วย ภาควิชาได้เปิดอบรมหลักสูตรภาษา FORTRAN และ COBOL เป็นระยะๆ ติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี เพื่อบุคคลภายนอกจะได้มีโอกาสศึกษา รุ่นแรกเริ่มเมื่อวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2506 มีการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บรรดาอาจารย์มหาวิทยาลัย ข้าราชการเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจและบุคคลจากสถาบันเอกชน สนใจมารับการอบรมกันมากมาย เช่น จากภาควิชาต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอง จากบัณฑิตวิทยาลัยวิศกรรมศาสตร์ สปอ. โรงเรียนนายเรือ และนายทหารเรือ การพลังงานแห่งชาติ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ องค์การสหประชาติการ ไฟฟ้า ยันฮี ฯลฯ รวม 60 กว่าคน ซึ่งในจำนวนนี้หลายท่าน ต่อมาดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชการและธุรกิจ

นอก เหนือจากการนำเอาเครื่อง IMB 1620 เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจัดเป็นเครื่องแรกแล้วองค์การ AID ยังได้จัดหาผู้เชี่ยวชาญ ด้านการวางหลักสูตรสถิติมายังภาควิชา และก็จัดว่าเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่ผู้ที่มาช่วยร่างหลักสูตร สต.บ. ก็คือ Professor Gertrude M.Cox ศาสตราจารย์ผู้ก่อตั้ง สถาบันสถิติศาสตร์ (Institute of Statistics) ของมหาวิทยาลัย North Carolina ซึ่งเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ของสหรัฐอเมริกาในด้านวิชาสถิติ ท่านผู้นี้ได้ให้ความสนใจ ต่อการวางหลักสูตรภาควิชาสถิติของเราอย่างจริงจัง ศึกษาความต้องการด้านวิชาการสถิติของประเทศไทยอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันก็ขอความเห็นจากบรรดาคณาจารย์ของภาควิชาการสถิติ และข้าราชการของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงทบวงกรมอื่นซึ่งเกี่ยวข้องกับ การใช้หรือผลิตสถิติ ทั้งนี้เพื่อจะได้แน่ใจว่าหลักสูตรที่ร่างให้ จะเหมาะสมกับความต้องการของประเทศไทยอย่างแท้จริง มีครั้งหนึ่งที่ท่านได้อุตส่าห์ขับรถจากมหาวิทยาลัย North Carolina มาพักอยู่กับผู้เขียนที่เมืองชิคาโกถึง 3 วันโดยมิได้คิดค่าตอบแทนแม้แต่น้อย เพื่อที่จะพิจารณาความเหมาะสม ของหลักสูตรสถิติกับผู้เขียน ซึ่งเป็นความเสียสละที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

ใน อดีตเราได้เห็นความสำคัญของการ ใช้สถิติประยุกต์กับศาสตร์อื่น ยังประโยชน์ให้กับส่วนรวมอย่างมากมาย ดังเช่น เมื่อปี ค.ศ. 1954 ประมาณ 40 ปีที่แล้ว ในสหรัฐอเมริกา สถิติได้ช่วยให้การทดลองใช้ Salk Vaccine ป้องกันโรคโปลิโอเป็นผลสำเร็จ ซึ่งยังประโยชน์ให้แก่มนุษย์โลกอย่างใหญ่หลวง การทดลองครั้งนั้นใช้เด็กถึงหนึ่งล้านคน จัดว่าเป็นการทดลองทางสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดสมัยนั้น

การ ทดลองอีกสองราย ซึ่งสถิติมีส่วนช่วยให้เป็นผลสำเร็จ ในสหรัฐอเมริกาก็คือ การทดลองผลของการสูบบุหรี่ ซึ่งได้ข้อยุติว่าอาจจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของผู้สูบอย่างมาก และในที่สุดการใช้สถิติวิเคราะห์ระดับความ ปลอดภัย ของปริมาณยาสลบที่ใช้ในการผ่าตัด ประโยชน์ซึ่งได้รับจากการใช้สถิติช่วยในการวิเคราะห์และทดลอง ทั้งหลายเหล่านี้ เป็นที่ยอมรับในวงการวิชาการ โดยทั่วไปทุกประเทศทุกวันนี้ ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็มีการใช้สถิติประยุกต์กับศาสตร์อื่น ในการวิเคราะห์ผลของการทดลองอยู่เสมอ และขยายวงกว้างออกไปทุกที ไม่ว่าจะเป็นเกษตรศาสตร์ รัฐศาสตร์ แพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ แทบทุกโรงงานอุตสาหกรรม จะมีหน่วยควบคุมคุณภาพของผลผลิต บางแห่งจะใช้คอมพิวเตอร์คุมทั้งการผลิต และการบริหารตั้งแต่ต้นจนจบ แม้แต่การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทุกครั้ง ก็มีการสำรวจประชามติล่วงหน้า ซึ่งปรากฏว่าหากดำเนินการโดยถูกต้อง ตามหลักวิชาการแล้ว จะได้ผลใกล้เคียงความจริงจากประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้ก็พอจะกล่าวได้ว่า ขณะนี้วงการทางวิชาการของประเทศไทย ยอมรับแล้วว่า สถิติจะช่วยให้การค้นคว้าวิจัยประสบผลสำเร็จ ได้ข้อยุติที่เชื่อถือได้ เช่นเดียวกับที่เป็นที่ยอมรับแล้วในนานาประเทศ

30 มกราคม 2553

ท่านพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในจำนวนตัวเลขประชากรของประเทศไทยแล้วใช่ไหม ?

สำมะโนประชากร เป็น การนับจำนวนคนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย พร้อมทั้งดูว่าผู้คนเหล่านั้นอยู่กันที่ไหนอย่างไร และมีลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร

สำมะโนประชากร ปี 2553 นี้ เป็นการนับผู้คนทั้งหมดที่มีอยู่ในราชอาณาจักร ครั้งที่ 11 ของประเทศไทย เมื่อนับเวลาจากการทำสำมะโนประชากรครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2453 และเรามีการทำสำมะโนประชากรกันมาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ระยะเวลาประมาณ 10 ปี จนกระทั่งถึงสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ.2553 นี้ ก็จะเป็นวาระครบ 100 ปี ของสำมะโนประชากรของประเทศไทย

ผู้คนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน การที่ครอบครัวของเราจะพัฒนาก้าวเดินไปข้างหน้าต่อไปนั้น เราควรจะต้องรู้ว่าสมาชิกในครอบครัวของเรานั้นเป็นใครกันบ้าง การนับจำนวนผู้คนที่มีมากกว่า 60 ล้านคนในประเทศไทยให้ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น ย่อมไม่ใช่งานง่าย แต่ก็เป็นงานยากที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่า คือ เราจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับขนาด ส่วนประกอบ การกระจายตัว และลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของประชากรเพื่อใช้วางแผนและนโยบายในการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณภาพต่อไป

ทุกคนในทุกครัวเรือนในประเทศไทย สามารถมีส่วนช่วยให้ข้อมูลสำมะโนประชากร 2553 นี้ครบถ้วนสมบูรณ์ได้ ด้วยการร่วมมือให้ถูกนับว่าเป็นหนึ่งในจำนวนผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 นี้

ท่านพร้อมที่จะถูกนับว่าเป็นหนึ่งในจำนวนประชากรทั้งหมดของประเทศไทยแล้วหรือยัง

29 มกราคม 2553

ข้อมูลสำมะโนประชากรจะนำเสนอเป็นภาพรวมเท่านั้น

ในการทำสำมะโนประชากร พนักงานแจงนับจะถามข้อมูลต่าง ๆ จากท่านเกี่ยวกับสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือน เป็นต้นว่าอายุ การศึกษา สถานภาพสมรส การทำงาน อาชีพ รวมทั้งเครื่องใช้ที่มีอยู่ในครัวเรือน หรือท่านอาจเลือกใช้วิธีกรอกข้อมูลเหล่านี้ลงในแบบแจงนับด้วยตนเอง

กฎหมายได้ให้หลักประกันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านตอบข้อถามกับพนักงานแจงนับ หรือข้อมูลที่ท่านกรอกลงในแบบแจงนับถือเป็นความลับ ซึ่งใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานแจงนับ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือบุคคลภายนอกอื่นใด จะนำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไปเปิดเผยหรือแพร่งพรายต่อไปมิได้

สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เน้นย้ำความสำคัญของการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลในทุกขั้นตอนของการเก็บรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูล โดยจะย้ำเรื่องนี้ ในการฝึกอบรมพนักงานแจงนับ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกคน และในการปฏิบัติงานภาคสนาม ในการนำข้อมูลมาประมวลผลและวิเคราะห์ จะนำข้อมูลของบุคคลและครัวเรือนทั้งหมดมารวมกัน แล้ววิเคราะห์และเสนอผลเป็นภาพรวมคือข้อมูลของหมู่บ้าน ตำบล/เทศบาล อำเภอ จังหวัด ภาค และประเทศเท่านั้น ไม่มีการโยงข้อมูลให้ไปถึงตัวบุคคลหรือครัวเรือนอย่างเด็ดขาด

ประชาชนทุกคนจึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นคำตอบต่อข้อถามในการทำ สำมะโนประชากรจะไม่มีทางรั่วไหลจนทำให้เกิดผลเสียต่อตัวบุคคลได้

28 มกราคม 2553

สำมะโนประชากร 2553 จะนับใครบ้าง

สำมะโนประชากร เป็นการนับผู้คนทุกคนในประเทศไทยตามที่อยู่จริง ข้อมูลเกี่ยวข้องกับจำนวนและลักษณะต่างๆ ของคนในประเทศไทย เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนและกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศไทย คนไทยทุกคนที่ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลในการทำสำมะโนประชากร จึงนับได้ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย

ทุกคนทุกครัวเรือนสามารถมีส่วนร่วมในการทำสำมะโน 2553 ได้ด้วยการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงของ “ทุกคน” ที่อาศัยอยู่จริงในครัวเรือนของตน ไม่ว่าคนนั้นจะมีชื่ออยู่ในสำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านหรือไม่ก็ตาม

“ทุกคน” ในที่นี้หมายถึง ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ดังนั้นจึงไม่ต้องให้ข้อมูลของคนที่ตายไปก่อน และเด็กที่เกิดหลังวันที่ 1 กรกฎาคม 2553

สำมะโนประชากรจะนับคนไทยที่ปรกติมีที่อยู่ในประเทศไทย แต่ในวันสำมะโนคือวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ได้ไปต่างประเทศชั่วคราว ไม่ว่าจะไปท่องเที่ยวหรือว่าทำธุรกิจ แต่ไม่ตั้งใจที่จะไปตั้งหลักแหล่งในต่างประเทศด้วย

ดังนั้น ถ้าท่านต้องการมีส่วนร่วมฉลอง 100 ปีของสำมะโนประชากรไทยในปี 2553 นี้ ท่านสามารถทำได้โดยให้ข้อมูลของท่านและสมาชิกในครอบครัวแก่เจ้าหน้าที่สำมะโน หรือกรอกข้อมูลในแบบสำมะโนให้เจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ

ระบบข้อมูลสถิติท้องถิ่น





จาก การปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจและงบประมาณไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ความต้องการใช้ข้อมูลสถิติในระดับท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่าง ยิ่งเพื่อใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ และจัดสรรงบประมาณระดับท้องถิ่น และเนื่องจากระบบสถิติของประเทศไทยเป็นระบบกระจายงาน (Decentralized Statistical System) ซึ่งมีสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐาน ที่สำคัญของประเทศ และหน่วยงานต่างๆ มีการจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน ทำให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เกิดปัญหาในการใช้ข้อมูลร่วมกัน หน่วยงานในระดับท้องถิ่น (อบต.) ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตอบสนองหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องเดียวกันหลายครั้ง เป็นการสร้างภาระแก่หน่วยงานและผู้ให้ข้อมูล หน่วยงานหลายๆหน่วยงาน ได้พัฒนาระบบสารสนเทศของตนเอง ส่งผลให้ข้อมูลในระดับท้องถิ่นกระจายไปตามหน่วยงาน เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน ทำให้การนำเข้าข้อมูลสถิติระดับท้องถิ่นไปใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร


สำนัก งานสถิติแห่งชาติ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นและเหตุผลดังกล่าว และตามมติ ค.ร.ม. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2545 ได้เห็นชอบให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนเรื่องการเก็บข้อมูลสำรวจที่ลงไปถึงท้องถิ่น ดังนั้นเพื้อให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและลดภารกิจซ้ำซ้อนที่จะเกิดขึ้นใน ท้องถิ่น ในปีงบประมาณ 2552 สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้มีแผนที่จะพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลสถิติระดับ เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลยิ่งขึ้น 

เว็บไซต์ระบบข้อมูลสถิติท้องถิ่น http://thailocal.nso.go.th/

27 มกราคม 2553

ท่านสละเวลาเล็กน้อยก็เท่ากับมีส่วนร่วม “ฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากร” แล้ว

การทำสำมะโนประชากร เป็นการแจงนับบุคคลทุกคนในทุกครัวเรือนที่อยู่ในประเทศไทย ทุกคนและทุกครัวเรือนสามารถมีส่วนร่วมในงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศครั้งนี้ได้โดยการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเกี่ยวกับบุคคลในครัวเรือน

การให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลในครัวเรือน อาจทำได้ 2 วิธี

(1) ให้ข้อมูลแก่ “เจ้าหน้าที่สำมะโน” ที่เข้าไปยังแต่ละครัวเรือนเพื่อสอบถามข้อมูลของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน พนักงานแจงนับจะกรอกข้อมูลลงในแบบแจงนับ พนักงานแจงนับเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้การรับรองโดยกฎหมาย ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (มาตรา 5)

นอกจากเจ้าหน้าที่สำมะโนจะไปสอบถามข้อมูลจากท่านถึงที่บ้านแล้ว ท่านยังอาจให้ข้อมูลของสมาชิกในครัวเรือนโดยทางโทรศัพท์ได้อีกด้วย

(2) แต่ละครัวเรือนกรอกข้อมูล “แบบสำมะโน” เอง เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติจะนำแบบแจงนับไปให้ครัวเรือนที่ไม่สะดวกในการให้ข้อมูลแก่พนักงานแจงนับ ในกรณีนี้แต่ละครัวเรือน จะกรอกข้อมูลลงในแบบแจงนับเอง จะมีเจ้าหน้าที่ไปเก็บรวบรวมแบบแจงนับจากแต่ละครัวเรือนในภายหลัง

นอกจากจะกรอกข้อมูลลงในแบบสำมะโนแล้วส่งให้เจ้าหน้าที่สำมะโนแล้ว ท่านอาจกรอกข้อมูลลงในแบบแล้วส่งทางอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย

ท่านไม่ต้องใช้เวลามากนักในการร่วม “ฉลอง 100 ปีสำมะโนประชากร” ครั้งนี้ ไม่ว่าท่านจะให้ข้อมูลแก่พนักงานแจงนับให้ด้วยตัวเองหรือทางโทรศัพท์ หรือกรอกข้อมูลในแบบแจงนับด้วยตนเอง ท่านก็จะเสียเวลาเพียงประมาณ 10 นาทีเท่านั้น

ข้อมูลที่ท่านจะให้แก่พนักงานแจงนับ หรือที่ท่านจะกรอกด้วยตนเองเป็นข้อมูลทั่ว ๆ ไปที่ง่ายในการตอบ ไม่มีคำถามที่ยุ่งยากที่ท่านต้องคิดหาคำตอบแต่ประการใด ข้อมูลที่สำมะโนประชากรต้องการ คือ จำนวนคนที่อยู่จริง ๆ ในครัวเรือนของท่าน โดยไม่ดูว่าคน ๆ นั้นจะมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหรือไม่ก็ตาม และไม่ว่าคน ๆ นั้นจะเป็นคนไทยหรือไม่ก็ตาม

ข้อมูลของสมาชิกครัวเรือนแต่ละคนที่สำมะโนประชากรต้องการทราบ คือ
- เพศ
- อายุเต็มปีบริบูรณ์
- ศาสนาที่นับถือ
- สัญชาติ
- การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
- การศึกษา
- การอ่านออกเขียนได้
- อาชีพหลัก
- สถานภาพการทำงาน
- สถานภาพสมรส
- สำหรับหญิงที่สมรสแล้ว จะถามเรื่องการมีลูก
- ความพิการ
- สถานที่เกิด
- การย้ายถิ่น


นอกจากข้อมูลของแต่ละบุคคลในครัวเรือนแล้ว การทำสำมะโนประชากรและเคหะครั้งนี้ยังมีข้อถามเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยของแต่ละครัวเรือนด้วย ข้อถามเคหะประกอบด้วย
- ประเภทที่อยู่อาศัย
- ลักษณะของที่อยู่อาศัย
- ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย
- ลักษณะการครอบครองที่ดิน
- จำนวนห้อง
- ประเภทของแสงสว่างที่ใช้
- เชื้อเพลิงที่ครัวเรือนใช้
- ประเภทส้วม
- น้ำดื่มน้ำใช้
- ความเป็นเจ้าของเครื่องใช้บางอย่างในครัวเรือน

ประวัติความเป็นมาการทำสำมะโนประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มดำเนินการนับจำนวนประชากรเป็นครั้งแรกใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งทำได้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตบริหาร 12 มณฑล จากทั้งหมด 17 มณฑล ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยแจกแจงว่าเป็นเพศใด ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ และเป็นคนชาติพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า “บัญชีพลเมือง”
ต่อ มาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศในรูปแบบของการทำสำมะ โนประชากรโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2452 ต่อมาใน พ.ศ. 2462 2472 2480 และ พ.ศ. 2490 เรียกว่า สำรวจ“สำมะโนครัว”
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รับผิดชอบและดำเนินการจัดทำสำมะโนประชากร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2503 ต่อมาใน พ.ศ. 2513 2523 2533 2543 ซึ่งดำเนินการทุก 10 ปี และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการจัดทำสำมะโนเคหะไปพร้อมกับการทำสำมะโน ประชากร และในปี พ.ศ. 2553 นี้ จะเป็นการทำสำมะโนเคหะครั้งที่ 5 และเป็นการทำสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย



การประมวลผลสำมะโนครั้งแรกในประเทศไทย (2495) พระที่นั่งนงคราญสโมสร

พนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กำลังขนลังจากรถบรรทุก ซึ่งบรรจุใบแบบข้อถาม ซึ่งได้กรอกในการทำสำมะโนประชากรและเคหะ เมื่อเดือน เมษายน 2513 กลับเข้าสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจะได้ทำการประมวลผลต่อ
 

แสตมป์ สำมะโนประชากรและเคหะ 2523
 

พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม

พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม
25 ตุลาคม 2553 สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ ร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม โดยชาวชุมชนบ้านกระเทียมได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวันเปิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนอย่างเป็นทาง การ และในเวลา 10.00 น. ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนอย่างเป็นทาง การ พร้อมคณะติดตาม ได้แก่ นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงฯ นางนนทปภา ศรีนนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ อาทิ นางสาวพุทธชาติ ศิริบุตร นางสาวปิยนาฎ คล่องดี ฯลฯ โดยมีนายวิเชียร เชาวลิต พ่อเมืองจังหวัดสุรินทร์ คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ สถิติจังหวัดสุรินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกระเทียม ผู้นำชุมชนเขตตำบลกระเทียม คณะครูนักเรียน และชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียงให้การต้อนรับ


 


26 มกราคม 2553

ทำไมต้องทำสำมะโนประชากรในเมื่อมีทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว

แหล่งข้อมูลประชากรที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทย ได้แก่การจดทะเบียนราษฎร ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในราวเดือนมีนาคมของแต่ละปี กระทรวงมหาดไทยจะประกาศจำนวนประชากรที่อยู่ในทะเบียนราษฎร เมื่อวันสุดท้ายของปีที่ผ่านมา เราจะรู้ว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้านั้นมีประชากรไทยอยู่กี่คน ผู้ชายกี่คน ผู้หญิงกี่คน ในปีก่อนนั้นมีคนเกิดและคนตายกี่คน ทั้งยังให้ข้อมูลจำนวนประชากร คนเกิด คนตาย และจำนวนบ้านที่จดทะเบียนในแต่ละจังหวัด

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลประชากรในทะเบียนราษฎรเป็นจำนวนคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายบ้านต้องไปจดทะเบียนย้ายที่อยู่กับสำนักทะเบียน แต่ในทางความเป็นจริง ประชาชนที่ย้ายที่อยู่ส่วนใหญ่ก็จะไม่ไปจดทะเบียน ดังนั้น จำนวนคนที่อยู่ในทะเบียนของพื้นที่หนึ่ง จึงไม่ตรงกับจำนวนคนอยู่จริง ๆ ในพื้นที่นั้น

จำนวนคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนในพื้นที่หนึ่งจะไม่ตรงกับจำนวนคนที่มีอยู่จริงๆ ในพื้นที่นั้น อย่างเช่น ในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2551 มีประชากรตามทะเบียนราษฎร 5 ล้าน 8 แสนคน แต่ในความเป็นจริง มีผู้คนจากจังหวัดต่างๆ เข้ามาอาศัยอยู่ในมหานครแห่งนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งเข้ามาเพื่อศึกษาเล่าเรียน ทำมาหากิน หรือ ด้วยเหตุผลอื่นๆ จำนวนประชากรที่มีอยู่จริงในกรุงเทพมหานคร จึงน่าจะมากกว่าจำนวนตามทะเบียนราษฎรอย่างมาก

ในพื้นที่ต่างๆ เราจะมีปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างจำนวนประชากรที่มีอยู่จริงกับจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาและให้บริการของพื้นที่และชุมชนต่างๆ ที่จะมีประสิทธิภาพได้จะต้องใช้ข้อมูลประชากรที่มีอยู่จริง ซึ่งจะได้จากการทำสำมะโนประชากร

สำมะโนประชากร คือ การนับคนที่อยู่จริง ๆ ในแต่ละพื้นที่

สำมะโนประชากรเปรียบเสมือนการถ่ายภาพนิ่งของผู้คนที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ เป็นภาพนิ่งที่แสดงให้เห็นว่า ณ เวลาที่ทำสำมะโนประชากรนั้นมีผู้คนวัยใดเพศใดบ้าง มีผู้สูงอายุ คนพิการเท่าไร มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หนังสือมากน้อยเพียงไร คนในวัยทำงานมีงานทำหรือไม่ อย่างไร มีการย้ายถิ่นอยู่มากน้อยแค่ไหน ข้อมูลจากสำมะโนประชากรจึงแตกต่างจากทะเบียนราษฎร ซึ่งเปรียบเสมือนการถ่ายภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นผู้คนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในแต่ละปีมีทั้งคนเกิดและคนตาย แต่ข้อมูลจากทะเบียนราษฎรไม่สามารถบอกลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ และสังคม ในรายละเอียดได้เหมือนกับสำมะโนประชากร

ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทำสำมะโนประชากรเพื่อให้เห็นภาพว่าผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ณ เวลาหนึ่ง เช่น เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2553 นั้น เป็นใครกันบ้าง ทั้งเพศ วัย เชื้อชาติ สถานภาพสมรส การศึกษา การอ่านออกเขียนได้ อาชีพ การทำงาน การย้ายถิ่นที่อยู่ รวมทั้งสภาพเคหะที่อยู่อาศัย

เราจะถ่ายภาพนิ่งหรือทำสำมะโนประชากรนี้ไว้ทุก ๆ 10 ปี สำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ.2553 นี้ จะนำไปเปรียบเทียบกับภาพประชากรในอดีตหลายสิบปีที่ผ่านมา และพร้อมที่จะนำไปเปรียบเทียบกับสำมะโนประชากรครั้งต่อไปในอีก 10 ปีข้างหน้าเพื่อดูการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย

25 มกราคม 2553

1 กรกฎาคม 2553: วันสำมะโนประชากร ครั้งที่ 11

ประเทศไทยทำสำมะโนประชากรครอบคลุมทั่วราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ.2453 ประเทศไทยจะทำสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ.2553 นี้ ซึ่งเมื่อนับจากปีสำมะโนครั้งแรกแล้วก็เท่ากับครบวาระ 100 ปีพอดี

สำมะโนประชากรและเคหะ ปี พ.ศ.2553 นี้ได้กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็น “วันสำมะโนประชากร”

สำมะโนประชากรและเคหะ 2553 จะนับคนไทยที่มีชีวิตอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2553

วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2553 จะใช้เป็นจุดเวลาอ้างอิงของข้อมูลแต่ละคนในการทำสำมะโนประชากรครั้งนี้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนับอายุ การเกิด ตาย และย้ายที่อยู่ จะถือเอาวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นเกณฑ์ ถึงแม้ว่าการทำสำมะโนประชากรครั้งนี้จะต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครัวเรือนทั้งหมดเป็นเวลาหลายวัน หรือบางทีอาจต้องใช้เวลาตลอดเดือนกรกฎาคม แต่เราก็จะยึดเอาวันที่ 1 กรกฎาคม เพียงวันเดียวเป็นเกณฑ์ จึงเรียกวันนี้ว่า “วันสำมะโนประชากร”

สภาพการประกอบอาชีพของคนไทยได้เปลี่ยนไปมากในรอบ 20 – 30 ปีที่ผ่านมานี้ คนที่ทำงานในภาคการเกษตรลดน้อยลง เพราะมีการนำเครื่องจักรกลเข้ามาช่วย และการทำเกษตรกรรมทุกวันนี้ก็ทำกันได้ตลอดทั้งปี เพราะการชลประทานที่ได้พัฒนาจนครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงเลือกเดือนกรกฎาคม ให้เป็นเดือนที่ทำงานเก็บข้อมูลจากครัวเรือนต่าง ๆ ในการทำสำมะโนประชากรและเคหะ ปี 2553 นี้ นอกจากจะด้วยเหตุผลทางการประกอบอาชีพของประชาชนแล้ว ยังมีเหตุผลว่าเดือนกรกฎาคมนี้ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้เปิดเรียนแล้ว นักเรียน นักศึกษา จึงมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งแน่นอนแล้ว

เมื่อกำหนดชัดเจนแล้วว่า วันที่ 1 กรกฎาคม จะเป็นวันสำมะโนประชากรและเคหะ ปี 2553 ถึงวันนี้ เรามาร่วมนับถอยหลังกันได้แล้วว่าเหลืออีกกี่วัน จึงจะถึงวันสำมะโนประชากร ครั้งที่ 11 ของประเทศไทย

24 มกราคม 2553

เกือบทุกประเทศในโลกต่างทำสำมะโนประชากร

เราควรต้องน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ท่านได้ทรงริเริ่มให้มีการทำสำมะโนครัว เพื่อนับจำนวนพลเมืองทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร การทำสำมะโนครัวที่เริ่มเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 นั้น เป็นการทำสำมะโนประชากรแบบสมัยใหม่ คือการนับจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของมณฑลทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร พร้อมแจกแจงผู้คนที่นับได้ออกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น เพศ กลุ่มวัย และเชื้อชาติ

ความคิดในการทำสำมะโนประชากรสมัยใหม่ ซึ่งได้เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ปรากฏหลักฐานเป็นการทำสำมะโนครัวในปี พ.ศ.2448 หรือ ค.ศ.1905 แม้สำมะโนครัวครั้งนั้นจะทำได้ไม่สำเร็จครบถ้วนทุกมณฑล แต่ก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่า ความพยายามในการแจงนับประชากรในราชอาณาจักรได้เกิดขึ้นแล้ว

23 มกราคม 2553

สำมะโนประชากรมีประโยชน์อย่างไร

สำมะโนประชากร คือ การนับผู้คนที่อยู่ในประเทศตามที่อยู่จริงว่ามีอยู่เท่าไร กระจายตัวกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างไร เป็นชาย หญิง เด็ก คนทำงาน ผู้สูงอายุ คนพิการเท่าใด ผู้มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หน้งสือมากน้อยเพียงใด คนทำงานมีงานทำหรือไม่ คนที่ทำงานประกอบอาชีพอะไรกันบ้าง ย้ายถิ่นที่อยู่กันมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีผู้ย้ายถิ่นเข้าหรือออกมาก มีสถานที่อยู่แบบไหน ถูกสุขลักษณะหรือไม่ เป็นต้น

22 มกราคม 2553

อุบลฯทุ่มจัด "MICT สร้างคนสร้างชาติ"

MICT จับมือจังหวัด-อบจ.อุบลฯจัดงานใหญ่ หลังจากประสบความสำเร็จอย่างสูง จากนครราชสีมา หนองคาย และเชียงใหม่


กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ เอ็มไอซีที ที่มี ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นเจ้ากระทรวง ได้สนองตอบข้อเรียกร้องของชาวอุบลฯและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ต้องการสัมผัสนวัตกรรมใหม่ทางด้านไอที ทั้งเรื่องคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ด้วยการจับมือกับจังหวัดและอบจ.อุบลฯ กำหนดจัดงาน “อุบลราชธานี MICT สร้างคนสร้างชาติ” ที่โอท็อปเซ็นเตอร์ อบจ.อุบลฯ กลางเมืองอุบลฯ ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์นี้ ระหว่างเวลา 10.00 น.ถึง 20.00 น.ทุกวัน
อุบลราชธานี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองนักปราชญ์ มีประชาชนเป็นผู้ใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับการศึกษา ดังนั้นกิจกรรม ในงานจึงมุ่งสนองตอบอย่างเต็มที่

ตราไปรษณียากรที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรไทย


ไปรษณีย์ไทย จับมือ สนง.สถิติจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 นายณัฐวุฒ จิตะสมบัติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว “การเปิดตัวตราไปรษณียากรที่ระลึกสำมะโนประชากรและเคหะ ประจำปี พ.ศ.2553” ณ ลานอเนกประสงค์ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ โดยมี นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายฉัตร วิศวพลานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไอซีที ร่วมเป็นเกียรติ สำหรับตราไปรษณียากรหรือแสตมป์ชุดดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ใน วาระครบ 100 ปี แห่งการทำสำมะโนประชากรในประเทศไทย รวมทั้งเป็นปีที่ประเทศไทยมีประชากรครบ 70 ล้านคน และแสตมป์ชุดนี้นับเป็นชุดที่ 4 ของการจัดทำแสตมป์สำมะโนประชากร ซึ่งแสตมป์ชุดแรกที่เคยสร้างมานั้นได้เริ่มจัดทำเมื่อปี พ.ศ.2503 ส่วนชุดที่ 2 จัดทำเมื่อปี พ.ศ.2513 และชุดที่ 3 จัดทำเมื่อปี พ.ศ.2533

ร่วมฉลองหนึ่งร้อยปีสำมะโนประชากรประเทศไทย

ในปี พ.ศ.2553 นี้ จะมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยเหตุการณ์หนึ่งที่พวกเราชาวไทยอาจมองข้ามไป ถ้าไม่หยิบยกขึ้นมาแสดงให้เห็นโดยทั่วกัน เหตุการณ์นั้น คือ การนับจำนวนผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย รวมทั้งการแจกแจงว่าผู้คนเหล่านั้นมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง และกระจายตัวกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศอย่างไร การนับคนทั้งหมดที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยเช่นนี้เรียกว่า “การทำสำมะโนประชากร”


ผลการตัดสินการประกวดโปสเตอร์ "ร่วมฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากรไทย" ระดับนักเรียน

ตามที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และหอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดโปสเตอร์ระดับนักเรียน หัวขอ “ร่วมฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากรไทย” ชิงรางวัลโล่พระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล ไปแล้วนั้น มาดูภาพน้องๆ ที่ชนะการประกวด ได้ที่http://popcensus.nso.go.th/poster.php

นอกจากนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และหอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร ยังได้จัดนิทรรศการแสดงภาพที่ชนะการประกวด ตั้งแต่วันที่ 8 - 27 มกราคม ณ หอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่างๆ ก็แวะไปชมกันได้ครับ

21 มกราคม 2553

กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 "เมืองช้างเกมส์"


สุรินทร์จัดพิธีเปิดเมืองช้างเกมส์อย่างยิ่งใหญ่อลังการ มีช้างเข้าร่วมแสดงนับร้อยเชือกพร้อมผู้แสดงกว่า 2000 ชีวิต ความ เคลื่อนไหวการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 "เมืองช้างเกมส์" ระหว่างวันที่ 21-29 ม.ค.53 โดย จ.สุรินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการซ้อมใหญ่พิธีเปิด ณ สนามกีฬาศรีณรงค์จังหวัดสุรินทร์ โดยมี นายวิเชียร ชวลิต ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ร่วมชมการฝึกซ้อมของนักแสดงร่วม 2,000 คน โดยใช้ชื่อการแสดงว่า ระบือทั่วในโลกานาม สมญาเมืองช้างเกมส์ จำนวน 3 ฉาก ประกอบด้วย
ฉาก ที่1 ละออองค์อัมรินทร์มนตราคชศาสตร์ ซึ่งในฉากจะมีองค์อินทร์ ช้างเอราวัณ ตามด้วยเทวดา 9 องค์ ตามด้วยนางฟ้า และนางอัปสรา รวม 95 นาง ออกมารำอวยพรให้กับช้างที่องค์อินทร์ได้ประทานมายังโลกมนุษย์ หรือจ.สุรินทร์ โดยมีช้างจำนวน 100 เชือก ทยอยเข้าสู่สนาม หรือเรียกว่าทะเลช้าง ส่วนฉากที่2 เป็นการแสดงชุดเชียงปุม ปฐมบทเมืองสุรินทร์รวมไทยเชิญขวัญศรีไผทสมันต์ เป็นฉากที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติเมืองสุรินทร์ ประกอบด้วย ขบวนหัวหน้าหมู่บ้าน 6 หมู่บ้าน นำหน้าโดยมโหฬี ช้างเชียงปุม ทหาร หมอช้าง และขบวนนางรำบายศรี ออกมารับเชียงปุม ใช้เพลงมองกวลจองได ของชนเผ่าเขมรอ และรำแกลมอเรียกขวัญ ขณะที่ชุดสุดท้าย ใช้ชื่อชุดว่า น้อมเกล้าฯสดุดีเทิดพระเกียรติ เป็นการแสดงโมเดิร์นดานซ์เต้นประกอบเพลง มีนักร้องประสานเสียงร่วม พร้อมกับการแปลอักษร คำว่า ทรงพระเจริญ โดยมีเพลงพระราชนิพนธ์ ซึ่งในฉากนี้จะรวมนักแสดงจาก 2 ฉากข้างต้น

แนะนำสำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น 9 กอง กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองไว้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 91 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2535 ในปี 2536 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจนุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 207 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2536

สำนักงานสถิติจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
  1. กำหนดนโยบายและประสานการจัดทำข้อมูลสถิติในระดับพื้นที่
  2. บริหาร จัดการ การจัดทำสำมะโน
  3. บริหาร จัดการ การสำรวจข้อมูล
  4. ส่งเสริมวิชาการ มาตรฐาน และควบคุมคุณภาพข้อมูลสถิติ
  5. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยข้อมูลสถิติระดับพื้นที่
  6. ให้คำปรึกษา แนะนำในการจัดทำ เผยแพร่ และให้บริการข้อมูลในระดับพื้นที่
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
อัตรากำลัง
  • ข้าราชการ จำนวน 5 คน
  • พนักงานราชการ จำนวน 11 คน
  • ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 5 คน
ปัจจุบัน นายจรุพล วรวิทยกิจ เป็น สถิติจังหวัดสุรินทร์

แผนที่ตั้งสำนักงานฯ คลิกที่นี่

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...