โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

29 มิถุนายน 2553

สถิติมีประโยชน์

27 มิถุนายน 2553

จังหวัดสุรินทร์จัดเวทีเสวนา 10 ปี เกษตรอินทรย์วิถีสุรินทร์

เกษตรกร และผู้สนใจชาวจังหวัดสุรินทร์เป็นจำนวนมากร่วมเวทีเสวนา 10 ปี เกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์ ที่ห้องประชุมศรีณรงค์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ วันที่ 25 มิ.ย. 2553 ทั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไปจังหวัดสุรินทร์จัดให้มีเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ “ เมืองสุรินทร์เมืองแห่งเกษตรอินทรีย์ “ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงาน “ มหกรรม 10 ปี เกษตรอินทรีย์วิถีสุรินทร์ “ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 มิ.ย. 2553 ซึ่งในการจัดเวทีเสนาในครั้งนี้มีทีมวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์ร่วมเสวนาจำนวนหลายคนซึ่งประกอบด้วย นายเกษมศักดิ์ แสนโภชน์ อดีผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์และประธานสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์สุรินทร์ นายธงชัย มุ่งเจริญพร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ พระครูพิพิธประชานาถ ( หลวงพ่อนาน ) นายเอียด ดีพูน นายสัมฤทธิ์ บุญสุข นายเชียง ไทยดี และนางกัญญา อ่อนศรี ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านของจังหวัดสุรินทร์ ร่วมแสดงความคิดเห็นถึงแนวทางและทิศทางการทำการเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์สู่ความยั่งยืนในอนาคต ท่ามกลางพี่น้องชาวชาวเกษตรกร และผู้สนใจชาวจังหวัดสุรินทร์ร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก สำหรับจังหวัดสุรินทร์ ได้มีนโยบายเมืองเกษตรอินทรีย์ปลอดสารเคมีและสารพิษ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา และส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรอินทรีย์ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเกษตรอินทรีย์จังหวัดสุรินทร์ขึ้นจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทั้งภาครับและเอกชนได้ร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ทั้งด้านการผลิต การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และการตลาดมากกว่า 10 ปี

บทบาทของสำนักงานสถิติแห่งชาติกับความคาดหวัง ของสังคม

สสช. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง บทบาทของสำนักงานสถิติแห่งชาติกับความคาดหวัง ของสังคม เมื่อวันพุธที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๓ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๔.๐๐ น. ณ ห้องประชุมกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้น ๙ โดยมี นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เป็นประธาน

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะสำนักงานสถิติแห่งชาติจะได้รับรู้ความคิดเห็นของสังคมทุกภาคส่วนเพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของสังคมมากที่สุด

25 มิถุนายน 2553

เปิดศัพท์โบราณที่ยังไม่ตาย "ชุมรุม" ในบริบท "โพลปรองดองแห่งชาติ" ของ ส.ส.ช.

คำว่า "ชุม รุม" ไม่คุ้นหูคนรุ่นใหม่แม้แต่น้อย ส่วนคนรุ่นเก่าคิดว่าคำนี้คงจะตายไปแล้ว แต่จู่ๆ กลับปรากฏอยู่ในแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (โพล) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่รัฐบาลมอบหมายให้สำรวจเพื่อใช้ประกอบแผนปรองดองแห่งชาติ และโรดแมปปฏิรูปประเทศ

แบบสำรวจระบุว่า "ในการสุ่มตัวอย่างแบบสอบถาม ระบุขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 6,728 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน ตามบัญชีรายชื่อ BLK หมู่บ้านทั่วประเทศ...รวมทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านใน 76 จังหวัด กำหนดขนาดตัวอย่างเท่ากันคือ 15 ครัวเรือนต่อชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100,920 ตัวอย่าง"

คำว่า "ชุมรุม" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า "ที่พัก ที่อาศัย" ส่วน "ชุม รุมอาคาร"

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Block มีความหมายว่า "เขต ปฏิบัติงานในเขตเทศบาล" ซึ่งสำนัก งานสถิติฯกำหนดขึ้นโดยแบ่งเขตจากแผนที่การทำงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ใน 1 เขตชุมรุมอาคาร ประกอบด้วยจำนวนบ้าน 100-250 หลังคาเรือน ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯทั้งหมดจัดอยู่ในเขตเทศบาล จึงใช้หน่วยสำรวจเป็น "ชุมรุมอาคาร" ทั้งหมด ขณะที่ที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด โดยเฉพาะนอกเขตเทศบาลนั้น กำหนดหน่วยเป็นหมู่บ้าน

23 มิถุนายน 2553

แบบสอบถามความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็นตอบแบบสอบถามโครงการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2553 ดังนี้
  • การตอบแบบสอบถามให้กาเครื่องหมาย ใน หรือในช่องว่างของคำถามในตาราง ที่คำตอบตรงกับความรู้สึกของท่านมากที่สุด หากคำถามใดที่ท่านคิดว่า “ ไม่พอใจ”  “ ไม่เหมาะสม”  “ ไม่เพียงพอ” หรือ “ ไม่เห็นด้วย
    โปรดให้รายละเอียด ที่ท่านมีความคิดเห็นต่อคำถามแต่ละข้อ
  • สำหรับข้อที่ตอบได้ไม่เกิน 3 ข้อ ให้ท่านตอบในเรื่องที่ท่านคิดว่าสำคัญที่สุด
  • ขอให้ท่านส่งแบบที่บันทึกแล้วมายัง E–Mail ngamthip@nso.go.th ภายใน วันที่ 28 มิถุนายน 2553
ขอขอบคุณในความร่วมมือของท่านมา ณ โอกาสนี้
           หากท่านมีปัญหาหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับแบบสอบถาม โปรดติดต่อสำนักงานสถิติแห่งชาติ โทร 02- 143- 1431
           คุณสุจารีต โภคาพันธ์ คุณไพเราะ สิมเสมอ และคุณสมจิตร สุขสกุลณี
        ดาวน์ โหลดแบบสอบถาม
          ความเป็นมาและวัตถุประสงค์โครงการ และแผนการสุ่มตัวอย่าง

สุรินทร์ข้าวหอมมะลิกว่า 3 ล้านไร่ กำลังเหี่ยวแห้งตายหลังฝนทิ้งช่วง

ในหลายพื้นที่ของ จ.สุรินทร์ กำลังประสบปัญหาต้นกล้าข้าวเริ่มเหี่ยวแห้งตายเพราะขาดน้ำหล่อเลี้ยง และมีวัชพืชขึ้นมาปกคลุมนาข้าวเป็นจำนวนมาก หลังจากในขณะนี้ฝนเริ่มทิ้งช่วงมานานกว่า 1 เดือน ส่งผลให้ แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิโลก ของ จ.สุรินทร์ ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 3 ล้านไร่ กำลังได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักทั้งนี้ จ.สุรินทร์ เป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ กข. 105 โดย จ.สุรินทร์ มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิทั้งจังหวัดกว่า 3 ล้านไร่ ผลผลิตรวมประมาณ 1 ล้านตัน/ปี สร้างรายได้ให้เกษตรกรนำเม็ดเงินเข้าจังหวัดปีละกว่า 10,000 ล้าน บาท กรณีภัยแล้งดังกล่าว กำลังจะส่งผลกระทบต่อจำนวนผลผลิตของข้าวหอมมะลิโลกที่จะออกสู่ตลาดลดน้อยลง ใน ขณะที่พี่น้องชาวไร่ชาวนาชาวจังหวัดสุรินทร์ กำลังประสบกับปัหาฝนทิ้งช่วงและภัยแล้ง ส่งผลกระทบต่อกล้าข้าวที่กำลังงอกและเติบโตอย่างมาก เนื่องจากไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงลำต้น และบางพื้นที่กำลังเหี่ยวแห้งตาย ชาวนา จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลหาทางช่วยเหลือด้วย หรือทำฝนเทียมให้ด้วย เพราะต้นข้าวกำลังขาดน้ำหากฝนยังไม่ตกอีกคาดว่าไม่น่าจะเกินอีก 2 สัปดาห์ ต้นข้าวต้องตายหมด

ในขณะที่อ่างเก็บน้ำอำปึล ต.เทนมีย์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เจอวิกฤตหนักสุดในรอบ 20 ปี ปริมาณน้ำเหลือไม่ถึง 40 % ของความจุจำนวน 27 ล้านลูกบาศก์เมตร อีก ทั้งยังไม่สามรถปล่อยระบายน้ำช่วยเหลือข้าวของชาวนาที่อยู่ท้ายอ่างฯที่มี อยู่กว่า 1 พันไร่ได้ ซึ่งนาข้าวที่ต้นกล้ากำลังงอกและเจริญเติบโตต่างได้รับผลกระทบเริ่มไม่มีน้ำ หล่อเลี้ยงต้นข้าว คาดอีกไม่เกิน 15 วันหากฝนไม่ตก ต้นกล้าข้าวจะต้องเหี่ยวแห้งตายเช่นกัน

22 มิถุนายน 2553

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิด ททท. สำนักงานที่สุรินทร์

การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเปิดสำนักงาน ททท. สำนักงานสุรินทร์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆใน ท้องถิ่น ในกาส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม วันที่ 21 มิ.ย. 2553 นายสุรพล เศวตเศวตเศรนี ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานในการเปิดอาคารที่ทำการ สำนักงาน ททท. สำนักงานสุรินทร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการ ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆในท้องถิ่น ทั้งถาครัฐ และเอกชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรม โดยรับผิดชอบพื้นที 3 จังหวัดภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อม โยงระหว่างจังหวัดให้มีการเดินทางท่องเที่ยวโดยใช้กิจกรรมด้านประเพณีและ วัฒนธรรม เช่น งานแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ งานมหัศจรรย์เขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ งานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทย จังหวัดศรีสะเกษ ตลอดจนสร้างการรับรู้ความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ได้แก่ เส้นทางตามรอยอารยธรรมขอม เช่น ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น ซึ่งคาดว่าในปี 2553 แนวโน้มนักท่องเที่ยวดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในภูมิภาคจำนวน กว่า 18 ล้านคนครั้ง ซึ่งมีรายได้ประมาณ 40,600 ล้านบาท

ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน พ.ศ. 2553

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน พ.ศ. 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อนในด้านต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นโดยชุมชน/หมู่บ้าน ความพึงพอใจต่อมาตรการต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม สาเหตุสำคัญและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนความกังวลกับภาวะโลกร้อน กิจกรรมที่ทำเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน และมาตรการที่สำคัญของภาครัฐ ตลอดจนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามนโยบาย ประเมินผล และปรับปรุง
การดำเนินงานต่อไป โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทุกจังหวัด ทั่วประเทศ มีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่าง3,900 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 – 20 เมษายน 2553 และเสนอผลสำรวจในระดับกรุงเทพมหานคร ภาค และทั่วประเทศ ในรูปร้อยละ

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร (418 KB)
รายงานผลการสำรวจ (1.09 MB)

21 มิถุนายน 2553

สสช. เตรียมความพร้อม สํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. ๒๕๕๓

นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมโครงการสํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. ๒๕๕๓ และการประชุมปรึกษาหารือ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการฯ รอบ ๒” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ ณ ห้องประชุม ๓-๐๓ ชั้น ๓ อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

จากสถานการณที่ผ่านมาทําให้สํานักงานสถิติแห่งชาติมีความจําเป็นต้องเลื่อนการจัดสํามะโนประชากรฯ จากเดิมวันที่ ๑ – ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เป็นวันที่ ๑ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ เพื่อให้ได้ข้อมูล ที่ถูกต้องและเป็นจริงมากที่สุด เพราะปัจจุบันการทํางานทุกภาคส่วนหันมาให้ความสนใจด้านข้อมูล และสํานักงานสถิติแห่งชาติต้องผลิตข้อมูลที่มีคุณภาพเท่านั้น ผู้อํานวยการสํานักงานสถิติแห่งชาติกล่าว

18 มิถุนายน 2553

หญิงไทยแต่งงานเร็วขึ้นที่อายุโดยเฉลี่ย 22 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจหญิงไทยปัจจุบันแต่งงานเร็วขึ้น โดยมีอายุเฉลี่ย 22 ปี
นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ กรมอนามัย และวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์และการดูแลสุขภาพของผู้หญิงในวัยเจริญ พันธุ์ทั่วประเทศนับตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน พบผู้หญิงไทยมีการสมรสโดยเฉลี่ยเร็วขึ้น และมีอายุน้อยลงในทุกปี คือ จากอายุเฉลี่ยที่ 23.1 ปี ในปี 2549 เป็น 22.2 ปี ในปัจจุบัน และยังพบด้วยว่า ผู้หญิงที่อยู่นอกเขตเทศบาลสมรสเร็วกว่าผู้หญิงที่อยู่ในเขตเทศบาลอยู่เสมอ นอกจากนี้ ผลการสำรวจยังพบว่า ก่อนแต่งงาน ผู้หญิงอายุ 15–49 ปีโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ หรือสามี ได้รับข้อมูลและคำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว จากบุคลากรสาธารณสุข เพียงร้อยละ 15 และได้รับการตรวจเลือดเพื่อหาทาลัสซีเมีย ร้อยละ 19.4 และหาเชื้อ HIV เพียงร้อยละ 20.9

ทำสำมะโนประชากรไปทำไม? ใครรู้บ้าง!


"100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย"
1-31 กันยายน 2553
พบกับเจ้าหน้าที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
พร้อมกันทั่วประเทศ

11 มิถุนายน 2553

สถจ.สร. จัดประชุมโครงการ สปค. 53 ให้กับเจ้าหน้าที่

ตามที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้กำหนดให้ปี พ.ศ. 2553 เป็นปีการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ โดยการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะครั้งนี้เป็นครั้งที่ 11 และเป็นวาระครบรอบร้อยปี ของการจัดทำสำมะโนของประเทศไทย โดยกำหนดคาบการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 กันยายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับ จำนวน และลักษณะของประชากรทุกคนในครัวเรือน ณ ที่อยู่ปกติที่พบวันสำมะโน รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของที่อยู่อาศัยของประชากรซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำไปใช้ในการวางแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อการบริหารและใช้ในการ ประมาณประชากรในอนาคต

การอบรมครั้งนี้ ใช้เวลาในการชี้แจง 4 วัน ผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ผู้ประสานโครงการ สปค. 53 จำนวน 30 คน และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 21 คน ระหว่างวันที่ 7 - 10 มิถุนายน 2553 ณ ห้องราชาวดี สวนป่ารีสอร์ท เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ.2553 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...