โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

1 กันยายน 2553

ธุรกิจเอกชนจะได้อะไรจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553

                                   

การทำสำมะโนประชากรเป็นกิจกรรมที่ถูกจัดอย่างต่อเนื่องมานานในประเทศต่างๆมากกว่า 200 ประเทศ ประเทศไทยได้จัดทำสำมะโนประชากรมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งแรก ทำในปี พ.ศ. 2452 และใน พ.ศ. 2553 จะเป็นการทำครั้งที่ 11 นับได้ว่ามีการทำสำมะโนประชากรในประเทศไทยมาแล้วครบ 100 ปีพอดี สำหรับ “วันสำมะโนประชากร” ครั้งที่จะถึงนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติกำหนดให้เป็น วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะใช้เป็นจุดเวลาอ้างอิงของข้อมูลแต่ละคนในการทำสำมะโนประชากรครั้งนี้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนับอายุ การเกิด ตาย และย้ายที่อยู่จะถือเอาวันที่ 1 กรกฎาคม 2553 เป็นเกณฑ์

“การทำสำมะโนประชากร” คือ การนับจำนวนผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย และแจกแจงว่าผู้คนเหล่านั้นมีคุณลักษณะอย่างไร เป็นชาย เป็นหญิง อายุเท่าไร มีสถานภาพสมรส การศึกษา การอ่านออกเขียนได้ การทำงานอาชีพต่างๆ การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อย่างไร ซึ่งเป็นเสมือนการฉายภาพนิ่งของคนทั้งประเทศในเวลาเดียวกัน ข้อมูลสำมะโนประชากรฯ จึงเป็นข้อมูลระดับประเทศที่สำคัญมาก สามารถนำมาใช้ช่วยตัดสินใจของภาครัฐและเอกชน รวมถึงการนำไปใช้โดยผู้บริหารระดับต่าง ๆ ได้มากมาย ได้แก่

- ใช้วางแผนนโยบายและโครงการต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ในพื้นที่มีเด็กมาก จำเป็นต้องมีโรงเรียน/ครู และวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันโรคของเด็กแต่ละวัยให้เพียงพอ ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ต้องมีสาธารณูปโภคให้เพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนประชากร

- ใช้กำหนดประเด็นปัญหา ตั้งเป้าหมาย และติดตามความก้าวหน้าในการทำงาน ในการบริหารจัดการและประเมินโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการพัฒนาครอบครัว เคหะที่อยู่อาศัย การศึกษา สุขภาพอนามัย การขนส่งคมนาคม การพัฒนาเมืองและชนบท เช่น ใช้ในการประเมินผลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) เป็นต้น

- ใช้วางแผนต่อเนื่องและใช้ในงานวิชาการต่างๆ คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนักวิชาการในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้นำข้อมูลตัวเลขจากสำมะโนประชากร ไปใช้เป็นข้อมูลฐานในการคาดประมาณประชากรของประเทศไทยในอนาคต ถ้าไม่มีข้อมูลแสดงภาพประชากรที่ถูกต้องเชื่อถือได้ในปัจจุบันเป็นฐาน ก็ยากที่จะคาดประมาณภาพประชากรของประเทศไทยในอนาคตให้ถูกต้องได้ เช่น ตัวเลขประมาณการนี้สามารถนำมาใช้จัดเตรียมแผนพัฒนาเศรษฐกิจกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) ได้ เป็นต้น

สำหรับภาคเอกชนก็สามารถนำข้อมูลจากสำมะโนประชากรไปใช้ได้ เนื่องจากสำมะโนประชากรมีจุดเด่นที่สำคัญคือ สามารถนำเสนอข้อมูลได้ถึงระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภาคเอกชนสามารถใช้ข้อมูลสำมะโนประชากรฯ ประกอบการตัดสินใจตั้งร้านค้า หรือผลิตสินค้าเพื่อขาย ขณะที่ผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล และอบต. ก็สามารถใช้ข้อมูลจากสำมะโนประชากรและเคหะร่วมกับข้อมูลเกี่ยวกับแหล่ง ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน วางแผนพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนได้เช่นกัน

การร่วมผลักดันงานสำมะโนประชากรและเคหะให้บรรลุวัตถุประสงค์ สามารถนับจำนวนประชากรทุกคน รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประชากรและที่อยู่อาศัยของประชากรได้ครบถ้วนมาก ที่สุด จึงต้องทำการรณรงค์ให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชนในประเทศอย่างเร่งด่วนต่อเนื่อง เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ประชาชนเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของสิ่งที่จะได้รับจากการทำสำมะโนประชากรและเคหะของประเทศไทย ซึ่งภาคธุรกิจเอกชนสามารถมีส่วนร่วมในการผลักดันงานสำมะโนประชากรและเคหะ ได้ดังนี้

1. ร่วมจัดกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในประเทศ รับรู้ เข้าใจ เห็นประโยชน์ เห็นคุณค่าของสำมะโนประชากร และต้องการให้ความร่วมมือให้ข้อมูล ที่เป็นจริงของตนเองและสมาชิกในครัวเรือน
2. สนับสนุนการโฆษณา ประชาสัมพันธ์สำมะโนประชากร ผ่านกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ ถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และอื่น ๆ โดยใช้โลโก้ สำมะโนประชากร ถ้อยคำหรือคำขวัญสั้นๆ ให้ติดตา ติดปาก ประชากร
3. กิจกรรมอื่น ๆ ที่เห็นสมควรดำเนินงาน

ที่มา:
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr/News/census/default.htm

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...