โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

28 กรกฎาคม 2554

ปชช.มีความรู้โครงการชุมชนพอเพียง-แนะรัฐเน้น ศก.พอเพียง

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียง พ.ศ.2554 ที่ดำเนินการโดยสำนักงานเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน สำนักงานสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั่วประเทศ ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 78 ทราบเกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียง จากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด และไม่ทราบข้อมูล ร้อยละ 22 โดยประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทราบเกี่ยวกับโครงการชุมชนพอเพียง มากที่สุดถึงร้อยละ 83.1 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ กรุงเทพมหานคร และภาคกลาง ตามลำดับ
        ขณะที่การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต พบว่า ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ประโยชน์จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้สูงที่สุดในประเทศ ร้อยละ 83.7 และกรุงเทพมหานคร มีการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงน้อยที่สุด
        ส่วนโครงการที่ประชาชนคัดเลือกเป็นโครงการชุมชนพอเพียงในหมู่บ้าน 3 อันดับแรกคือ การเกษตร การส่งเสริมอาชีพ รายได้ และการสาธารณูปโภค เนื่องจากเห็นว่าให้ประโยชน์ด้านการสร้างงาน สร้างอาชีพมากที่สุด รองลงมา ช่วยให้คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น และสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้
        นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้ภาครัฐดำเนินโครงการชุมชนพอเพียง และนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้ทั่ว ถึง

19 กรกฎาคม 2554

ยาเสพติดปัญหาหนักอก!

สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผย ยาเสพติดกำลังกลายเป็นปัญหาหนักอกหนักใจประชาชนมากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ว่า ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนด้านการจัดระเบียบสังคม เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้วางแผนดำเนินการและกำหนดมาตรการจัดระเบียบสังคมเพื่อให้สังคมน่าอยู่และคนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ซึ่งพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหายาเสพติด มากสุดถึง 83.3% รองลงมาคือการทุจริตคอรัปชัน 56.4% อันดับสาม คือ อาชญากรรม 33% ตามด้วยปัญหาอบายมุข เช่น การพนัน หวยใต้ดิน 25.4% และการประพฤติผิดหรือมั่วสุมทางเพศ 25.3%

ส่วนเรื่องที่เห็นว่ารัฐบาลควรดำเนินการ 3 เรื่องแรก คือ การกวดขัน สอดส่อง ควบคุมสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดยาเสพติดของคนในชุมชนหรือหมู่บ้าน 62.3% จัดให้มีสถานที่ออกกำลังกาย 58.1% และการร่วมกันของภาครัฐเพื่อกวดขันสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของยาเสพติด 56.9% สถานที่ที่ประชาชนต้องการให้รัฐเข้าไปดูแลแก้ไขมากที่สุด คือ สถานบันเทิงหรือสถานบริการมีมากถึง 61.6% รองลงมาคือร้านเกมหรือร้านอินเตอร์เน็ต 53.8% แหล่งอบายมุข เช่น สถานที่รับซื้อหวยใต้ดินหรือรับพนันบอล 46% ชุมชนแออัด 30.3% หอพัก บ้านเช่า อพาร์ตเมนต์ 23.8% พื้นที่ของผู้มีอิทธิพล 23% สถานที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภท 15.4% และโรงแรมหรือรีสอร์ต 5.3% อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ 62.4% เห็นว่ารัฐบาลต้องเข้มงวดจัดระเบียบสังคมให้น่าอยู่ มีเพียง 37.5% ที่เห็นว่าทำดีอยู่แล้ว และ 0.1% เห็นว่าเข้มงวดมากเกินไป

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

15 กรกฎาคม 2554

เผยผลสำรวจผู้ชายภาคใต้แชมป์ 'สิงห์อมควัน'

ขณะที่ผู้หญิงใน กทม.มีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้นมากเมื่อ เทียบกับภาคอื่นๆ  เหตุบริษัทผลิตบุหรี่มีการผลิตบุหรี่รสชาติ ต่างๆ เช่น ช็อกโกแลต สตอเบอร์รี่...

เมื่อวันที่ 13ก.ค. ที่ รร.สยามซิตี้ มีการเสวนามาตรการควบคุมยาสูบในสถานศึกษา โดย ทพญ.ศิริวรรณพิทยรังสฤษฏ์ ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า จากข้อมูลของศูนย์เฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ที่สำรวจการสูบบุหรี่ในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปีทั่วประเทศเมื่อปี 2552 จำนวน 7,649 คน พบว่าเยาวชนสูบบุหรี่ทั้งชนิดมีควัน และไม่มีควันร้อยละ 15.6 แต่ที่น่าห่วงคือร้อยละ 28.9 คิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้มีเพื่อนมากขึ้น และร้อยละ 8.3 คิดว่าทำให้มีเสน่ห์

อย่างไรก็ตาม ยังพบว่ามีถึงร้อยละ 75.5 ที่ต้องการเลิกบุหรี่ขณะเดียวกันเมื่อดูข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ สำรวจอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยอายุ 15-24ปี ระหว่างปี2547-2552 พบว่าในกลุ่มเยาวชนอายุ 15-18ปี และกลุ่มอายุ 19-24 ปี มีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้นโดยกลุ่มอายุ 15-18 ปี เพิ่มจากร้อยละ 7.25ในปี 2550 เป็นร้อยละ 7.62 ในปี 2552 ขณะที่ในกลุ่มอายุ19-24 ปี พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นเช่นกันโดยในปี 2550อยู่ที่ร้อยละ 21.2 เพิ่มเป็นร้อยละ 22.1ในปี 2552 และเมื่อแยกอัตราการสูบบุหรี่ตามเพศ เป็นรายภาค พบว่าในเพศชายมีการสูบบุหรี่สูงที่สุดอยู่ที่ภาคใต้ร้อยละ 51.07 รองลงมาคือภาคอีสาน ร้อยละ 50.75ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความรู้และความช่วยเหลือในการเลิกบุหรี่ และทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ควรบรรจุเรื่องโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่เข้าไปใน หลักสูตรการเรียนการสอนด้วย

ทพญ.ศิริ วรรณ กล่าวด้วยว่า ยังพบตัวเลขที่น่าสนใจว่าผู้หญิงใน กทม.มีอัตราการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้นมากเมื่อ เทียบกับภาคอื่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากบริษัทผลิตบุหรี่มีการผลิตบุหรี่รสชาติ ต่างๆ เช่น ช็อกโกแลต สตอเบอร์รี่ เพื่อหวังกลุ่มเป้าหมายไปที่ผู้หญิงโดยเฉพาะซึ่งเป็นการนำเข้าสู่ประเทศไทย อย่างผิดกฎหมายทำให้อัตราการสูบบุหรี่ของผู้หญิงกลุ่มอายุในกทม.กลุ่มอายุ 15-18ปี เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 0.45 ในปี2550 เป็นร้อยละ2.05 ในปี 2552 และกลุ่มอายุ 19-24ปี เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่มีร้อยละ 0.42 เป็นร้อยละ0.94 ในปี 2552

ด้านนางจุไรรัตน์ แสงบุญนำ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ศธ.ได้บรรจุเรื่องโรคที่เกี่ยวกับบุหรี่เข้าไปในหลักสูตรการเรียน การสอนแล้วและให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินการและทางสำนักงานคณะกรรมการการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้แจ้งขอความร่วมมือไปยังทุกเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว

แห่เทียนพรรษาสุรินทร์ยิ่งใหญ่ขบวนช้างยาวเป็นกิโล


สุรินทร์เปิดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 84 ไอยรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดินสุดยิ่งใหญ่ ตั้งขบวนแห่ฯยาวเยียดเกือบ 1 กิโลเมตรแต่ละขบวนต้นเทียนแกะสลักลวดลายวิจิตรงดงาม นำหน้าด้วยขบวนช้างหลายสิบเชือก…

เมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 14 ก.ค. นายเสริม ไชยณรงค์ ผวจ.สุรินทร์ พร้อมหน.ส่วนราชการ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา นักท่องเที่ยว ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 84 ไอยรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน ที่ ททท.ร่วมกับจังหวัดสุรินทร์จัดขึ้น ที่หน้าค่ายวีระวัฒน์โยธินจังหวัดทหารบกสุรินทร์ หลังเปิดงานขบวนแห่เทียนพรรษาจากคุ้มวัดในอำเภอเมืองสุรินทร์และต่างอำเภอ ที่ตั้งขบวนยาวเยียดเกือบ 1 กิโลเมตร แต่ละขบวนต้นเทียนแกะสลักลวดลายวิจิตรงดงาม นำหน้าด้วยขบวนช้างหลายสิบเชือก ที่ประดับตกแต่งสวยงามด้วยแสงไฟระยิบระยับ สลับด้วยขบวนเทียนแต่ละคุ้มวัด เคลื่อนออกจากหน้าค่ายวีระวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์ ผ่านถนนหลายสายในเขตเทศบาล มาที่อนุสาวรีย์พระยาภักดีศรีณรงค์จางวาง เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ รอบบริเวณมีการแสดงพื้นเมืองของนักเรียน โดยมีประชาชน นักท่องเที่ยวร่วมชมขบวนแห่อย่างล้นหลาม ท่ามกลางสายฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก

นายเสริม เปิดเผยว่า งานมหกรรมแห่เทียนพรรษา 84 ไอยรา เทิดไท้องค์ราชาของแผ่นดิน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 นอกจากขบวนแห่เทียนด้วยช้างแล้ว ยังจัดพิธีเจริญพระปริตร (พระพุทธมนต์) และอธิษฐานจิต โดยนิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ จำนวน 85 รูป สวดพระปริตรถวายพระราชกุศล เพื่อถวายพระพรชัยมงคลและถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ตามมติมหาเถรสมาคม และมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชนในพระบรมราชินูปถัมภ์ที่ให้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วทั้งประเทศ

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์

11 กรกฎาคม 2554

สารสถิติประจำเดือนเมษายน- มิถุนายน 2554


เรื่องเด่นในเล่ม

  • ก้าวย่างต่อไปสู่ปี 49
  • สถิติยุคใหม่... ก้าวต่อไปของ สสช
  • อำลาเครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม
  • สถิติน่ารู้
  • แวดวง สสช
  • เสียงจากภูมิภาค
ดาวน์โหลดที่นี่ฟรี!

6 กรกฎาคม 2554

ร้องรัฐเร่งคุมราคาสินค้า

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความก้าวหน้าของประเทศ พ.ศ. 2554 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้ภาครัฐดำเนินการจัดทำความก้าวหน้าของประเทศ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดความก้าวหน้าของประเทศ และเพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปประกอบการดำเนินการต่อไป โดยได้สำรวจความคิดเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 106,620 คน 
    
ทั้งนี้จากการสอบถามแนวทางที่ประชาชนต้องการให้ภาครัฐดำเนินการเรื่องความเจริญก้าวหน้าของประเทศ พบว่าประชาชนต้องการให้เข้ามาควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคมากที่สุดถึง 18.3% รองลงมาคือสร้างความปรองดองสามัคคีในสังคม 16.2% อันดับสามคือ การพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าและมั่นคง 14.3 % อันดับสี่คือ พัฒนาด้านการศึกษาให้มีคุณภาพ 14% อันดับห้าคือ การสร้างความยุติธรรมและโปร่งใสในสังคม 13.4%
    
ส่วนที่ประชาชนต้องการน้อยที่สุดคือการส่งเสริมการท่องเที่ยว 0.3% รองลงมาคือการหางานรองรับนักศึกษาที่จบใหม่ 1.1% การพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าเท่าเทียมนานาประเทศ 1.7% อันดับสี่คือ การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1.8% และจัดการปัญหาด้านขยะชุมชนและหมู่บ้าน 1.8% 
    
สำหรับผลการสำรวจความเห็นด้านความเจริญก้าวหน้าของประเทศ 5 อันดับแรก พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึง 61.6% เห็นว่าเป็นด้านการศึกษาและการเรียนรู้ รองลงมาคือการทำงานและการประกอบอาชีพ 59.8% อีก 57% เห็นว่าเป็นฐานะทางเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพมีเพียง 41.7% และที่น้อยที่สุดพบว่าเป็นเรื่องของที่อยู่อาศัยและระบบสาธารณูปโภค 33.1%
    
นอกจากนี้ความเจริญก้าวหน้าของประเทศด้านฐานะเศรษฐกิจใน 5 อันดับแรก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 76% เห็นว่าประชาชนมีงานทำ ขณะที่ 75.2% เห็นว่าประชาชนมีรายได้มากกว่ารายจ่าย อีก 64.8% เห็นว่ามีภาระหนี้สินครัวเรือนลดลง 56.7% เห็นว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ขณะที่มีเพียง 41.5% เท่านั้นที่เห็นว่าค่าครองชีพของตนอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะประชาชนในภาคเหนือที่เห็นด้วยน้อยที่สุดเพียง 39.8% รองลงมาคือ กท. และใต้ ที่เห็นเท่ากันคือ 40.4% ภาคอีสาน 40.6%
    
รายงานข่าวกล่าวด้วยว่า ส่วนความเจริญก้าวหน้าของประเทศด้านการลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ใน 5 อันดับแรกนั้น ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าช่องว่างรายได้ระหว่างคนจนกับคนรวยลดลงจริง 69.3% รองลงมาคือ ความยากจนลดลง 65.8% ส่วนที่เห็นว่าประชาชนทุกกลุ่มได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ทรัพยากรและการบริการของภาครัฐที่เหมาะสม มี 55% อีก 51.9% เห็นว่าการปฏิบัติของภาครัฐและสังคมที่มีต่อประชาชนเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ 48.1% ที่เห็นว่าชุมชนและท้องถิ่นได้รับการจัดให้มีระบบสวัสดิการที่เพียงพอครอบคลุมตั้งแต่เกิดจนตายอย่างเท่าเทียมและเหมาะสม
    
อย่างไรก็ตามยังมีเรื่องความเจริญก้าวหน้าของประเทศด้านความสามัคคีและความสมานฉันท์พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 78.8% ที่เห็นว่าการไม่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคมตามด้วยความเหลื่อมล้ำของคนในสังคมลดลง


ที่มา: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=310&contentID=149338

1 กรกฎาคม 2554

แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินงานเกี่ยวกับสถิติของประเทศมาประมาณ 100 ปี โดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยสถิติกลาง ผลิตสถิติในแทบทุกสาขาโดยส่วนใหญ่เป็นสถิติจากการสำรวจ นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากที่ผลิตสถิติจากระบบการรายงาน งานทะเบียน โดยส่วนใหญ่เป็นสถิติที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและการดำเนินงานของหน่วยงาน จนถึงปัจจุบันมีการผลิตสถิติในเกือบทุกสาขาโดยหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก แม้ว่าการผลิตสถิติภายใต้ระบบดังกล่าว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นการพัฒนาที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองประโยชน์ในการใช้งานของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีข้อจำกัดด้านบุคลากร งบประมาณ ฯลฯ แตกต่างกันไป ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านมาตรฐานและคุณภาพของงานด้านสถิติ และในบางกรณีก็มีความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองในการดำเนินงาน

พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของหน่วยงานภาครัฐ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานระดับกระทรวงทุกแห่งจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย โดยเน้นกระบวนการหารือและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากการวิเคราะห์ลักษณะปัจจัยภายในและภายนอก ( SWOT Analysis) ของระบบสถิติในปัจจุบัน สามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดทำ แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยได้ดังนี้

  •  ใช้พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 สร้างความชัดเจนเชิงนโยบายด้านระบบข้อมูลสถิติของประเทศ
  • ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการผลิตและให้บริการ
  • พัฒนาคุณภาพโดยการยกระดับมาตรฐานข้อมูล และพัฒนาประสิทธิภาพโดยการ
    ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระงาน
  • สร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วน
  • ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลมากขึ้น
  • พัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานข้อมูลสถิติ

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...