สำนักงานสถิติแห่งชาติ เดินหน้าจัดทำ “สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555” ส่งคุณมาดีลงพื้นที่สัมภาษณ์เพื่อรวบรวมข้อมูลการดำเนินธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิต จากสถานประกอบการทั่วประเทศ พร้อมขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน เพื่อเป็นข้อมูลให้ภาครัฐและผู้ประกอบการใช้ในการวางแผนพัฒนประเทศและธุรกิจให้มีศักยภาพ ตอกย้ำให้ผู้ประกอบการมั่นใจ ข้อมูลไม่รั่วไหล ไม่เกี่ยวพันข้อกฎหมาย ไม่โยงใยเรื่องภาษี ลงพื้นที่ 1 มีนาคม – 30 มิถุนายนนี้
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
กล่าวถึงเหตุผลในการจัดทำ สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม ว่า
ในปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปจากภาคเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการเป็นหลัก อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งนับเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ที่มีบทบาทอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในแต่ละปีมีมูลค่าผลผลิตประมาณ 2 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในขณะที่ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ มีมูลค่าผลผลิตประมาณ 1 ใน 5 ของ GDP ดังนั้นข้อมูลสถิติแลสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบการดังกล่าว จึงมีความสำคัญสำหรับภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญให้แก่ประเทศ จึงได้จัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรมขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจัดทำทุกๆ 10 ปี แต่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยมากขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนให้มีการจัดทำทุกๆ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
สำหรับการลงพื้นที่เพื่อสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 จะดำเนินการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2554 โดยมีเจ้าหน้าที่ในนาม “คุณมาดี” ที่สวมเสื้อโปโลสีส้ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการจัดทำ สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 ที่มีบุคลิกที่เป็นมิตร สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นกันเอง จำนวน 1,500 คน ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจะสอบถามจาก สถานประกอบการ...
สถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านธุรกิจการค้า (ค้าปลีก ค้าส่ง) ธุรกิจทางการบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารและโรงพยาบาลเอกชน ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด จะสอบถามจากสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าปลีก-ค้าส่ง การบริการและการผลิต ซึ่งการทำสำมะโนในครั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติได้นำร่องโดยการนำระบบ E – Service และ E – Question มาใช้ในบางพื้นที่ เพื่อประเมินถึงผลดีผลเสีย และหากการดำเนินการโดยวิธีนี้สามารถลดขั้นตอน เวลา ค่าใช้จ่าย ข้อผิดพลาด
และสามารถประมวลผลเป็นรายวันเมื่อจบภาคสนามก็จะขยายพื้นที่ต่อไป
“สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง โดยมั่นใจได้ว่า
ข้อมูลที่ให้มาจะไม่รั่วไหล ไม่เกี่ยวพันข้อกฎหมาย และไม่โยงใยเรื่องภาษี เพื่อที่รัฐจะได้กำหนดแผนนโยบายพัฒนาได้ตรงกับความต้องการ สำหรับผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลที่ได้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนขยายกิจการ บริหารและควบคุมการดำเนินกิจการในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงใช้ข้อมูลเป็นฐานเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตนกับกิจการอื่น ในส่วนของนักวิชาการ นักวิจัย และสถาบันการศึกษา สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ
และอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในความสนใจและเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขอให้ท่านผู้ประกอบการมั่นใจว่าข้อมูลของสถานประกอบการจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่มีการนำไปเปิดเผยเป็นรายกิจการอย่างแน่นอน สำนักงานสถิติแห่งชาติจะนำไปประมวลเป็นค่าทางสถิติและเสนอผลในภาพรวมเท่านั้น” นายวิบูลย์ทัตกล่าว
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ
กล่าวถึงเหตุผลในการจัดทำ สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม ว่า
ในปัจจุบันโครงสร้างทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปจากภาคเกษตรกรรมเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการเป็นหลัก อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งนับเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ที่มีบทบาทอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยในแต่ละปีมีมูลค่าผลผลิตประมาณ 2 ใน 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในขณะที่ธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ มีมูลค่าผลผลิตประมาณ 1 ใน 5 ของ GDP ดังนั้นข้อมูลสถิติแลสารสนเทศโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบการดังกล่าว จึงมีความสำคัญสำหรับภาครัฐและเอกชนในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้าโลก
ด้วยเหตุนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติในฐานะผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญให้แก่ประเทศ จึงได้จัดทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรมขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาจัดทำทุกๆ 10 ปี แต่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยมากขึ้น จึงได้ปรับเปลี่ยนให้มีการจัดทำทุกๆ 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่การทำสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 เป็นต้นไป
สำหรับการลงพื้นที่เพื่อสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 จะดำเนินการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 30 มิถุนายน 2554 โดยมีเจ้าหน้าที่ในนาม “คุณมาดี” ที่สวมเสื้อโปโลสีส้ม ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการจัดทำ สำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ.2555 ที่มีบุคลิกที่เป็นมิตร สุภาพ ยิ้มแย้มแจ่มใสและเป็นกันเอง จำนวน 1,500 คน ลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ประกอบการทั่วประเทศ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานจะสอบถามจาก สถานประกอบการ...
สถานประกอบการที่ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งทางด้านธุรกิจการค้า (ค้าปลีก ค้าส่ง) ธุรกิจทางการบริการ การผลิต การก่อสร้าง การขนส่งทางบกและสถานที่เก็บสินค้า กิจกรรมด้านข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารและโรงพยาบาลเอกชน ส่วนการเก็บรวบรวมข้อมูลรายละเอียด จะสอบถามจากสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับธุรกิจการค้าปลีก-ค้าส่ง การบริการและการผลิต ซึ่งการทำสำมะโนในครั้งนี้สำนักงานสถิติแห่งชาติได้นำร่องโดยการนำระบบ E – Service และ E – Question มาใช้ในบางพื้นที่ เพื่อประเมินถึงผลดีผลเสีย และหากการดำเนินการโดยวิธีนี้สามารถลดขั้นตอน เวลา ค่าใช้จ่าย ข้อผิดพลาด
และสามารถประมวลผลเป็นรายวันเมื่อจบภาคสนามก็จะขยายพื้นที่ต่อไป
“สำนักงานสถิติแห่งชาติ ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการให้ข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง โดยมั่นใจได้ว่า
ข้อมูลที่ให้มาจะไม่รั่วไหล ไม่เกี่ยวพันข้อกฎหมาย และไม่โยงใยเรื่องภาษี เพื่อที่รัฐจะได้กำหนดแผนนโยบายพัฒนาได้ตรงกับความต้องการ สำหรับผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลที่ได้เป็นเครื่องมือวิเคราะห์สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งการวางแผนตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนขยายกิจการ บริหารและควบคุมการดำเนินกิจการในด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงใช้ข้อมูลเป็นฐานเพื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานตนกับกิจการอื่น ในส่วนของนักวิชาการ นักวิจัย และสถาบันการศึกษา สามารถนำไปวิเคราะห์ต่อยอดสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนาธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ
และอุตสาหกรรมการผลิตที่อยู่ในความสนใจและเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และขอให้ท่านผู้ประกอบการมั่นใจว่าข้อมูลของสถานประกอบการจะถูกเก็บเป็นความลับ ไม่มีการนำไปเปิดเผยเป็นรายกิจการอย่างแน่นอน สำนักงานสถิติแห่งชาติจะนำไปประมวลเป็นค่าทางสถิติและเสนอผลในภาพรวมเท่านั้น” นายวิบูลย์ทัตกล่าว