โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

21 เมษายน 2554

13 ฟอนต์แห่งชาติ

ครม.เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการเลิกใช้ฟอนต์ต่างชาติ บังคับใช้ 13 ฟอนต์ไทย ในงานราชการ เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยดำเนินการติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่น ๆ ทั้งหมด จำนวน 13 ฟอนต์ ของสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (สอซช.) หรือ SIPA และกรมทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS (Thai Operating System) และใช้ฟอนต์ดังกล่าวแทนฟอนต์เดิม ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยให้ติดตั้งและใช้งานให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ 5 ธันวาคม 2553

ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก ปัจจุบันส่วนราชการจำนวนมากมีการใช้ฟอนต์ที่หลากหลาย ไม่มีมาตรฐานในเอกสาร-ทางราชการ อีกทั้งยังมีหน่วยงานราชการหลายแห่งใช้มาตรฐานฟอนต์ของบริษัทเอกชนที่ผูกขาดลิขสิทธิ์ เช่น Angsana อาจมีปัญหาเรื่องการฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วยเหตุดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนาและมีการประกวดแข่งขันฟอนต์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้ Open Source Software ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรีให้ส่วนราชการไทยประกาศมาตรฐานเอกสารดิจิตัลและรูปแบบของฟอนต์ที่ไม่ขึ้นกับระบบปฏิบัติการและลิขสิทธิ์ของบริษัทใด ๆ เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นชาติและเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย ซึ่งในขณะนี้มีฟอนต์ที่ส่วนราชการไทยสามารถเป็นเจ้าของและพร้อมแจกจ่ายให้กับผู้ประสงค์จะใช้งานรวม 13 ฟอนต์ ดังนี้
ตัวอย่างฟอนต์ TH SarabunPSK ขนาด 14 pt 18 pt และ 32 pt


20 เมษายน 2554

สำนักงานสถิติแห่งชาติประกาศผลสำมะโน 65.4 ล้านคน

ประชากรประเทศไทยเพิ่มแต่อัตราการเกิดลด กรุงเทพมหานครยังครองแชมป์จังหวัดที่มี
จำนวนประชากรมากที่สุดและมีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด

นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผย ผลเบื้องต้นสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 ว่า ประเทศไทยมีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 กันยายน 2553 จำนวน 65.4 ล้านคน เป็นประชากรหญิง 33.3 ล้านคน (ร้อยละ 50.9) และเป็นประชากรชาย 32.1 ล้านคน (ร้อยละ 49.1) ซึ่งมากเป็นลำดับ 4 ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากประเทศอินโดนีเซีย 240 ล้านคน ฟิลิปปินส์ 92 ล้านคน และเวียดนาม 88 ล้านคน ตามลำดับ


นายวิบูลย์ทัต กล่าวว่า จากการทำสำมะโนประชากรทุก 10 ปี พบว่าประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกรอบโดยอัตราการเพิ่มของประชากรแต่ละรอบแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม พบว่า อัตราการเพิ่มของประชากรในประเทศไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2503 เป็นต้นมา คือ อัตราการเพิ่มของประชากรในระหว่างปี 2503-2513 เป็นร้อยละ 2.70 ต่อปี ระหว่างปี 2533-2543 เป็นร้อยละ 1.05 ต่อปี และระหว่างปี 2543-2553 ลดลงเหลือร้อยละ 0.77 ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมาจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดที่ลดต่ำล อย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง

ประเทศไทยมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 20.3 ล้านครัวเรือน โดยมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 3.2 คน ซึ่งมีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับสำมะโนประชากรและเคหะ ปี 2543 ซึ่งมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ย 3.9 คน ภาคที่มีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยใหญ่สุด คือภาคใต้ 3.54 คน รองลงมาคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.53 คน ภาคเหนือ 3.1 คน ภาคกลาง 3.0 คน และกรุงเทพมหานครมีขนาดครัวเรือนเฉลี่ยเล็กสุด 2.9 คน

ในเรื่องความหนาแน่น ประเทศไทยมีพื้นที่ประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร มีความหนาแน่นของ
ประชากร โดยเฉลี่ย 127.5 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งหนาแน่นกว่า 10 ปีที่แล้ว (118.1 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร) เป็นที่ทราบกันดีว่า ประชากรมีการย้ายถิ่นฐานมาหาแหล่งงานในกรุงเทพมหานคร จังหวัดในปริมณฑล และจังหวัดใหญ่ๆ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก จังหวัดที่มีความเจริญ มีสถานศึกษา โรงพยาบาล สถานบริการทางด้านสาธารณสุขการคมนาคมขนส่งสะดวกสบายจะมีประชากรอยู่กันหนาแน่น จึงส่งผลทำให้จังหวัดเหล่านี้มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยสูงขึ้น เช่นกรุงเทพมหานคร มีความหนาแน่นของประชากรสูงสุด เพิ่มจาก 4,028.9 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตรในปี
2543 เป็น 5,258.6 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตรในปี 2553 จังหวัดที่มีความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยสูงที่สุด 10 อันดับ คือ กรุงเทพมหานคร รองลงมา คือ จังหวัดนนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร ภูเก็ต ปทุมธานี สมุทรสงคราม นครปฐม ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา ตามลำดับ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าว

10 เมษายน 2554

สถจ.สุรินทร์ เดินหน้าเก็บข้อมูลสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2554 นางธัญชนก  ณ ระนอง สถิติจังหวัดสุรินทร์ และ
"คุณมาดี" ได้ประชาสัมพันธ์ โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม กับส่วนราชการ
หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในงาน “สภากาแฟจังหวัดสุรินทร์” 

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...