โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราว

ผลการคัดเลือกบุคคลเป็นลูกจ้างชั่วคราวปฏิบัติงานโครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2555

โครงการสำมะโนธุรกิจและอุตสาหกรรม

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ และสำมะโน อุตสาหกรรมทุก 10 ปี ตามข้อเสนอแนะขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ประเทศมีข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทางด้านธุรกิจทางการค้า ธุรกิจทางการบริการ และอุตสาหกรรมการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง

18 ตุลาคม 2554

สถานการณ์เด็กไทย…….ภาพสะท้อนสังคม??

จากการเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การศึกษา และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในทางที่เป็นคุณและเป็นโทษ จำเป็นอย่างยิ่งที่พ่อ แม่ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดต้องทำหน้าที่อบรม สั่งสอน และให้ความเอาใส่ใจดูแลเด็กอย่างมาก ตลอดจนต้องทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเองกับสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงได้ เพื่อสามารถนำพาเด็กๆ ให้เดินไปในทิศทางที่ถูกต้องต่อไป

ครอบครัว ปัจจัยหล่อหลอมเด็กไทย
การอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวมีพ่อ แม่ และลูกอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อและแม่อย่างสมบูรณ์ นับว่าครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อเด็กอย่างมากในการหล่อหลอมและสร้างเด็กให้เติบโตเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพทั้งความรู้ คุณธรรม และจริยธรรม สามารถดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม และสร้างให้สังคมน่าอยู่ต่อไปได้ แม้โครงสร้างของครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวเดี่ยวที่มีพ่อ แม่ และลูก แต่ปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ จากร้อยละ 65.6 ในปี 2530 เป็นร้อยละ 52.3 ในปี 2552 ขณะที่ครัวเรือนขยายที่มีพ่อ แม่ ลูก และญาติพี่น้องอื่นๆอยู่ด้วยนั้น จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากร้อยละ 27.6 ในปี 2530 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35.8 ในปี 2552 อย่างไรก็ดี พบว่าในรอบ สองทศวรรษที่ผ่านมา การอยู่คนเดียวนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการย้ายออกไปทำงานในเมืองอื่นๆ มากขึ้น จึงทำให้ต้องแยกครัวเรือนออกมา ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน พบว่า ในปี 2551 มีเด็กจำนวน 1 ใน 5 ของเด็กทั้งหมดที่อายุไม่เกิน 17 ปี (หรือร้อยละ 20.1) ไม่ได้อยู่กับพ่อและแม่ โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 19.3 ในปี 2548 เป็นเพราะพ่อและแม่ แยกทางกัน หรือต้องไปทำงานที่อื่นจึงต้องทิ้งบุตรหลานให้บุคคลอื่นเช่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องเลี้ยงดูแทน
จากข้อมูลดังกล่าว จึงทำให้เกิดคำถามว่า “ทุกวันนี้ ผู้ปกครองได้ให้ความเอาใจใส่เด็กๆ มากพอหรือยัง?" ซึ่งผลสำรวจการใช้เวลาของประชากรของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าการใช้เวลาใน 1 วันของคนไทยนั้น ใช้เวลาในการดูแลเด็ก ซึ่งรวมถึงการดูแลด้านร่างกาย การอบรมให้คำแนะนำ การใช้เวลารับส่งเด็กไปยังสถานที่ต่างๆ และการดูแลด้านจิตใจมีเพียง 2.1 ชั่วโมงต่อวันในปี 2544 เท่านั้น แม้จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 2.3 ชั่วโมงต่อวันในปี 2547 แต่ก็ถือว่าเป็นการใช้เวลาสำหรับเด็กที่น้อยมาก แม้โดยรวมครอบครัวไทยยังดำรงความสัมพันธ์อย่างดีทั้งระบบครอบครัวและระบบเครือญาติ แต่ปัจจัยภายนอกก็มีส่วนสำคัญต่อการกำหนดพฤติกรรมของเด็กด้วย จากการที่สังคมได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสาร ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็วทั่วทุกมุมโลกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้เด็กบริโภคข้อมูลบนสื่ออินเทอร์เน็ตได้อย่างเสรีแบบ Anytime Anywhere และ Anything แล้วเช่นนี้เด็กไทยจะเป็นอย่างไรหรือต้องเผชิญอะไรบ้างในโลกไร้พรมแดน

เกมออนไลน์...สร้างสรรค์จินตนาการหรือมอมเมา???
“เด็กติดเกม” หลายคนคงจะคุ้นหู เพราะมีการพูดกันในวงกว้างเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ไม่เหมาะสม กับเด็ก การติดเกมจนทำให้เสียสุขภาพ และการเรียน แต่ใครจะทราบบ้างว่า หากมองอีกด้านหนึ่งเกมออนไลน์นั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ เพราะนอกจากการเล่นเกมที่ได้รับความเพลิดเพลินแล้ว เด็กๆ ยังได้ทักษะในการใช้อินเทอร์เน็ต การติดตามข่าวสาร และการค้นหาข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ด้วยตัวของเด็กๆ เอง โดยจากผลสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า เด็กไทยใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในการเรียน การศึกษา และค้นหาข้อมูล/ติดตามข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต ยกเว้นเด็กอายุ 6-10 ปี เท่านั้นที่ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเล่นเกมส์ ส่วนแหล่งที่ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ที่โรงเรียนและบ้าน โดยใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง

วัฒนธรรมไทย...เกราะป้องกันภัย??? คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนการรับวัฒนธรรมแบบไม่ไตร่ตรองก่อน จะเป็นตัวอย่างให้เด็กลอกเลียนแบบ จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองและสังคมต้องเตรียมความพร้อมและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กในการรับและปรับไปใช้ในทางที่ถูกต้อง แม้ผลจากการสำรวจการเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมในปี 2548 จะพบว่าวัยรุ่นไทยยังคงมีพฤติกรรมและจิตสำนึกที่ดี ไม่ทำตัวเป็นภาระหรือปัญหาของสังคม โดยวัยรุ่นอายุ 13 – 24 ปี ส่วนใหญ่ใช้เวลาในการอ่านหนังสือ (ร้อยละ 85.5) และเล่นกีฬา ร้อยละ 78.4 แต่ก็มีวัยรุ่นถึงเกือบครึ่งที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 41.3) นอกจากนี้ยังพบข้อน่าเป็นห่วง ก็คือ การมีพฤติกรรมนอนดึกตื่นสาย การเที่ยวกลางคืนและเที่ยวเตร่เป็นประจำ แม้จะมีน้อยกว่าร้อยละ 6 แต่ก็นับว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะกับวัย แต่อย่างไรก็ตามในการสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต ปี 2551 พบเรื่องที่น่ายินดีว่า เด็กไทยที่นับถือศาสนาพุทธอายุ 13-14 ปี ประมาณร้อยละ 80 ระบุว่าเคยตักบาตร และสวดมนต์ ร้อยละ 67.4 ระบุว่าเคยถวายสังฆทาน และประมาณร้อยละ 30 ระบุว่าเคยรักษาศีล 5 (ครบทุกข้อ) และทำสมาธิ ซึ่งจากข้อมูลในภาพรวมนี้อาจแสดงให้เห็นได้ว่าอย่างน้อยก็ยังมีเด็กบางส่วนทื่ถือได้ว่าเป็น “เด็กไทย….ยังไม่ไกลวัด” จากที่กล่าวมาข้างต้น แม้จะไม่ใช่ภาพสะท้อนทั้งหมดของเด็กและเยาวชนไทย แต่ก็เป็นปรากฎการณ์ที่ต้องการสะท้อนให้สังคมได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนไทยเพิ่มมากขึ้น เพราะเด็กคือพลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต เปรียบเสมือนผ้าขาวที่พร้อมจะรับการแต่งแต้มสีจากผู้ใหญ่ จำเป็นอย่างยิ่งที่ครอบครัว โรงเรียน ครู และสังคมจะต้องเป็นและสร้างแบบอย่างที่ดี เพื่อที่พวกเค้าจะได้ “รอบคอบ รู้คิด มีจิตสาธารณะ” เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป

ที่มา: กลุ่มงานวิเคราะห์และพยากรณ์สถิติเชิงสังคม สำนักสถิติพยากรณ์

17 ตุลาคม 2554

งานช้างและงานกาชาดสุรินทร์ 2554


จังหวัดสุรินทร์ มีช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณอีกทั้งชาวกวยหรือกูย ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองในอดีตได้จับช้างป่ามาฝึก เพื่อใช้งานในด้านต่างๆเช่น การพาหนะ การขนส่ง รวมถึง ช้างยังมีบทบาทในการประกอบพิธีทางศาสนาและวัฒนธรรมของชาวกวย ชาวกวยแต่ละครัวเรือนจะมีช้างที่เลี้ยงไว้อาศัยอยู่รวมกัน จนช้างที่พวกตนเลี้ยงไว้เปรียบเสมือนเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของตน ก่อให้เกิดสายใยความผูกพันที่แน่นเฟ้นขึ้นระหว่างคนกับช้าง ชาวกวยจึงเลี้ยงช้างในฐานะที่เป็นสัตว์เลี้ยงเสียมากกว่าจะเป็นสัตว์ที่ไว้ ใช้งาน การฝึกช้างของชาวกวยจึงเป็นการฝึกช้างให้เชื่องและปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า ของ ด้วยความเฉลียวฉลาด และความสามารถในการปฏิบัติตามคำสั่งได้อย่างน่าอัศจรรย์ของช้างนี้เอง กลุ่มผู้นำในหมู่บ้านได้เล็งเห็น และรวมตัวกันเพื่อแสดงให้คนภายนอกเห็นถึงความผูกพันของคนกับช้างที่สามารถ อยู่ร่วมกันและสื่อสารกันได้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันแสนพิเศษ ของช้างไทย การแสดงช้างครั้งแรก จึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2503 ณ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ จากความน่ารัก ความแสนรู้ของช้างสุรินทร์ ในครั้งนั้น ด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นที่สร้างชื่อเสียงและความประทับใจให้แก่ผู้ชมทั้ง ชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก

กิจกรรมเด่น

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554
เวลา 14.00 น. – ขบวนแห่รถอาหารช้าง เริ่มจากบริเวณหน้าโรงเรียนสิรินธร
เวลา 18.00 น. – การประกวดขบวนรถอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์
เวลา 19.00 น. – การประกวดสาวงามเมืองช้าง เวทีกลางกาชาดสุรินทร์ สนามกีฬาศรีณรงค์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2554
เวลา 08.00 น. – ขบวนพาเหรดและแห่ช้างกว่า 300 เชือก เริ่มขบวนจากหน้าสถานีรถไฟจังหวัดสุรินทร์
เวลา 09.00 น. – งานต้อนรับและเลี้ยงอาหารช้าง ณ บริเวณอนุสาวรีย์พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2554
เวลา 19.00 น. – งานแสดงแสง สี เสียง ตำนานพันปีปราสาทศีขรภูมิ ณ บริเวณปราสาทศีขรภูมิ อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์

วันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2554
เวลา 09.00 น. - การแสดงช้างจังหวัดสุรินทร์ ณ สนามแสดงช้าง อ.เมือง จ.สุรินทร์

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2554
เวลา 05.00 น. - งานวิ่ง “เมืองช้าง” มินิ-ฮาร์ฟมาราธอน ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

[ดาวน์โหลด] แบบฟอร์มการจองบัตรชมการแสดงช้างสุรินทร์


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สำนักงานจังหวัดสุรินทร์  โทร 044 512 039
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์  โทร. 044511 975
เทศบาลตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ  โทร. 044 561 243, 044 560 088
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์  โทร.080 464 7333
ททท. สำนักงานสุรินทร์  โทร. 044 514 447-8

สุขภาพจิตดี..มีได้ด้วยพอเพียง

การมีสุขภาพดีเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งการมีสุขภาพดีไม่ใช่เฉพาะสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงเท่านั้น แต่การมีสุขภาพจิตที่ดีก็มีความสำคัญมาก เช่นเดียวกัน การมีสุขภาพจิตที่ดีจะทำให้เราสามารถควบคุมอารมณ์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจได้อย่างดี อีกทั้งสุขภาพจิตยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายได้ เพราะเมื่อสุขภาพจิตเสื่อม สุขภาพกายก็จะพลอยทรุดโทรมไปด้วยดังคำกล่าวที่ว่า “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” จากผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดจากสุขภาพจิตทำให้หลายฝ่ายเริ่มให้ความสนใจเรื่องของจิตใจมากขึ้น ดังนั้นสหพันธ์สุขภาพจิตโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑๐ ตุลาคม ของทุกปีเป็น “วันสุขภาพจิตโลก” เพื่อให้คนในสังคมได้ตระหนักถึงความสำคัญต่อปัญหาด้านสุขภาพจิต

ในหลายปีที่ผ่านมาแม้ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาต่างๆ เช่นปัญหาภัยธรรมชาติ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาเรื่องปากท้อง เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตทั้งสิ้น แต่จากการสำรวจสุขภาพจิตคนไทยของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้ข้อถามสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น 15 ข้อของกรมสุขภาพจิตที่พัฒนาจากข้อถามฉบับสมบูรณ์ที่กำหนดว่าบุคคลทั่วไปควรมีคะแนนสุขภาพจิตระหว่าง 27.01-34 คะแนน ผลสำรวจพบว่า ในปี 2552 คนไทยมีสุขภาพจิตโดยเฉลี่ยดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2551 ที่ได้ 31.80 คะแนน และในปี 2552 ได้ 32.73 คะแนน จากคะแนนเต็ม 45 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับคนทั่วไป และเป็นที่น่ายินดีที่มีผู้มีสุขภาพจิตสูงกว่าคนทั่วไปเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10 (จากร้อยละ 27.7 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 37.7 ในปี 2552)
นอกจากนี้ผลสำรวจยังพบว่าการศึกษาและรายได้มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจิตด้วย โดยพบว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงและรายได้มากๆ จะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่มีการศึกษาและรายได้ต่ำกว่า แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้วจะพบว่าถึงแม้ว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำจะมีคะแนนสุขภาพจิตน้อยที่สุดแต่เมื่อเทียบกับปี 2551 แล้วคะแนนสุขภาพจิตดีขึ้น (เพิ่มขึ้นจาก 30.29 คะแนนในปี 2551 เป็น 32.63 คะแนน ในปี 2552) นั่นแสดงว่านโยบาย และความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่เน้นประชาชนรากหญ้ามีผลให้สุขภาพจิตคนกลุ่มนี้ดีขึ้นได้ รายได้ก็เช่นเดียวกันแต่อาจจะไม่เสมอไปที่คนที่มีรายได้สูงจะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่มีรายได้ต่ำ เพราะอาจจะมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องด้วย เช่น ความมั่นคงในชีวิต และความสบายใจในการใช้จ่าย เป็นต้น

ส่วนปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนรากหญ้าคงหนีไม่พ้นเรื่องปัญหาหนี้สินซึ่งจากผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พบว่า ในปี 2552 คนไทยมีหนี้สิ้นเฉลี่ย 134,699 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว (ปี 2543 ครัวเรือนมีหนี้สิ้นเฉลี่ย 68,405 บาท) และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของรัฐบาล และตัวประชาชนเองที่ต้องหาวิธีแก้ปัญหานี้ให้ได้
การที่จะมีสุขภาพจิตดีนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนที่พร้อมทุกอย่างเสมอไป แม้ว่าปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเมืองในช่วงต้นปีที่ผ่านมาจะส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจของประชาชน แต่ทุกคนสามารถที่จะมีสุขภาพจิตที่ดีได้ ถ้ารู้จักพอใจในสิ่งที่ตนมี ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และดำเนินชีวิตอย่างมีสติโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพียงเท่านี้ทุกคนก็จะมีสุขภาพจิตดี และสามารถดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์ที่กดดันได้อย่างมีความสุข

ที่มา: สำนักสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ

7 ตุลาคม 2554

ก.ไอซีที แถลงความก้าวหน้าการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ

ก.ไอซีที แถลงความก้าวหน้าการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

นาวา อากาศเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้แถลงความก้าวหน้าในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยฯ ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี ว่า ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติและประสานงาน โดยมีรองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธาน และมีผู้แทนจาก กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)  บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมเป็นคณะทำงาน และมีผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นเลขานุการ

นอกจากนี้ยังได้จัดผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยาและ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เข้าปฏิบัติงานที่ศูนย์สนับสนุนอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) ณ กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา เพื่อประสานติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ กำหนดข้อสั่งการพร้อมแจ้งเตือนภัยให้หน่วยงานต่างๆ  และประชาชนทราบ ตลอดจนได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดเข้ารายงานตัวต่อผู้ว่าราชการ จังหวัดเพื่อปฏิบัติงานในส่วนการประมวลข้อมูลสถานการณ์และการช่วยเหลือ ประชาชน เพื่อรายงานรัฐบาลผ่าน ศอส.

“ในการดำเนินงานของกระทรวงฯ ได้ดำเนินการในลักษณะบูรณาการแบบ One Stop Service ตามมาตรการ 2P 2R คือ 1.ด้านการเฝ้าระวัง โดยได้ประสานการปฏิบัติและแลกเปลี่ยนข้อมูลการเตือนภัยกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องตลอดเวลา เพื่อเป็นข้อมูลในการแจ้งเตือน รวมทั้งได้เฝ้าระวังสภาวะอากาศและประเมินข้อมูลที่อาจจะเกิดผลกระทบต่อชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับการเตือนภัยล่วงหน้า และได้แจ้งข่าวในรูปของประกาศหรือการแจ้งเตือนผ่านหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งสื่อมวลชน วิทยุ-โทรทัศน์ รวมถึงข้อความสั้น (SMS) วิทยุสื่อสาร Social Network , website เป็นต้น พร้อมกันนี้ยังได้มอบหมายให้ บมจ.ทีโอที และบมจ.กสทฯ ตรวจสอบและเตรียมความพร้อมโครงข่ายและเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมหลักให้ สามารถรองรับสถานการณ์ได้     ทุกพื้นที่ รวมทั้งวางระบบสื่อสารสำรองในภาวะฉุกเฉิน คือ ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมเคลื่อนที่ ในพื้นที่เฝ้าระวังเป็นการล่วงหน้า ตลอดจนได้ติดต่อซักซ้อมการแจ้งเตือนภัยระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กับศูนย์เตือนภัยภาคประชาชน คือ ประชาชนผู้มีจิตอาสาและกลุ่มวิทยุสมัครเล่นเอาไว้ด้วย

2. ด้านการแจ้งเตือนภัย เมื่อมีความชัดเจนว่าจะเกิดภัยพิบัติ กรมอุตุนิยมวิทยาและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จะติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกระชับความชัดเจนเกี่ยวกับลักษณะภัยและพื้นที่  พร้อมประเมินสถานการณ์เพื่อการแจ้งเตือนทุก 3 - 6 ชั่วโมง รวมถึงแจ้งผลการวิเคราะห์ผลกระทบในมิติของความรุนแรงและพื้นที่ ตลอดจนการคาดการณ์เพื่อประโยชน์    ในการบรรเทาและช่วยเหลือ รวมทั้งวางระบบการสื่อสารสำรองผ่านเครือข่ายประชาชนผู้มีจิตอาสาและวิทยุ สมัครเล่น ตามนโยบายการเตรียมพร้อมแห่งชาติเพื่อใช้ในพื้นที่วิกฤติที่ไม่สามารถติดต่อ สื่อสารด้วยเครือข่ายอื่นได้ รวมถึงเฝ้าระวังและติดตามเหตุการณ์ตลอด   24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังได้ประสานการบรรเทาภัยและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีที่การ ติดต่อระหว่างประชาชนกับหน่วยบรรเทา   สาธารณภัยมีปัญหาหรือไม่สามารถติดต่อกันได้ โดยการเปิดศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ตลอด 24 ชั่วโมงที่หมายเลข 192

3. ด้านการฟื้นฟู สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บมจ.ทีโอที บมจ.กสทฯ ได้สนับสนุนบุคลากรและเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงและซ่อมแซม อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ให้แก่หน่วยงานราชการและประชาชน ส่วนบจ.ไปรษณีย์ไทย ได้สนับสนุนการขนส่งสิ่งของในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ตลอดช่วงเวลา การบรรเทาและการฟื้นฟู นอกจากนั้นกระทรวงฯ ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานการบรรเทาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีที่การ ติดต่อมีปัญหา หรือไม่สามารถติดต่อระหว่างประชาชนกับหน่วยบรรเทาสาธารณภัยได้

4. ด้านการแก้ปัญหา กระทรวงฯ และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้กำกับการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่างๆ เป็น 3 ลักษณะ คือ พื้นที่ประสบภัย ได้แก่ จ.อุตรดิตถ์  ได้กำกับดูแลการติดต่อสื่อสารโดยให้ บมจ.ทีโอที เข้าพื้นที่และวางระบบสื่อสารโทรศัพท์ทางสายเพื่อการติดต่อระหว่างเจ้า หน้าที่และประชาชนในจุดที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งพื้นที่ที่ยังเข้าไม่ได้ คือ บ้านต้นขนุน ตชด ๓๑๒ น้ำไผ่ น้ำปาด ห้วยคอม พร้อมทั้งวางระบบอินเทอร์เน็ตไร้สายและ e-Conference ที่ อ.น้ำปาด จ.อุตรดิตถ์ นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้บางพื้นที่ที่สามารถดำเนินการ ได้ ส่วนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้รับหน้าที่ติดต่อกับประชาชนและประสานงานกับหน่วยช่วยเหลือผ่านหมายเลข 192 รวมทั้งติดตามสถานการณ์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานบรรเทาทุกข์และช่วยเหลือ ประชาชน

พื้นที่เสี่ยงภัย คือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ได้ติดตามสถานการณ์น้ำฝนและน้ำในแม่น้ำ ลำห้วย เพื่อแจ้งพื้นที่ให้แจ้งเตือนภัยทางเครือข่าย “หอกระจายข่าว” และทางสัญญาณเตือนภัย โดยประสานงานตรงกับผู้รับผิดชอบในการบริหารสถานการณ์ ซึ่งขณะนี้น้ำ  ได้เอ่อล้นฝั่ง บางพื้นที่ได้ไหลเข้าท่วมแล้ว  และฝนยังคงตกอย่างต่อเนื่อง ส่วนบางพื้นที่ได้ปักธงแดง แสดงสถานการณ์อันตรายแล้ว

และ พื้นที่เฝ้าระวัง คือ ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ได้ติดตามสภาวะอากาศและปริมาณฝนซึ่งกำลังตกหนักในพื้นที่ จ.ระนอง จ.พังงา จ.สตูล และภาคใต้ตอนล่าง เพื่อประสานหน่วยงานในพื้นที่ให้เฝ้าระวัง รวมทั้งให้ผู้มีจิตอาสารีบรายงานสถานการณ์ตามช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลง และประสานงานบมจ.ทีโอที เตรียมเข้าพื้นที่เสี่ยงเพื่อเตรียมความพร้อมของเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร สำรอง” น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าว

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...