25 มิถุนายน 2553

เปิดศัพท์โบราณที่ยังไม่ตาย "ชุมรุม" ในบริบท "โพลปรองดองแห่งชาติ" ของ ส.ส.ช.

คำว่า "ชุม รุม" ไม่คุ้นหูคนรุ่นใหม่แม้แต่น้อย ส่วนคนรุ่นเก่าคิดว่าคำนี้คงจะตายไปแล้ว แต่จู่ๆ กลับปรากฏอยู่ในแบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชน (โพล) โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่รัฐบาลมอบหมายให้สำรวจเพื่อใช้ประกอบแผนปรองดองแห่งชาติ และโรดแมปปฏิรูปประเทศ

แบบสำรวจระบุว่า "ในการสุ่มตัวอย่างแบบสอบถาม ระบุขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น 6,728 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน ตามบัญชีรายชื่อ BLK หมู่บ้านทั่วประเทศ...รวมทั้งสิ้น 109,966 ชุมรุมอาคาร/หมู่บ้านใน 76 จังหวัด กำหนดขนาดตัวอย่างเท่ากันคือ 15 ครัวเรือนต่อชุมรุมอาคาร/หมู่บ้าน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 100,920 ตัวอย่าง"

คำว่า "ชุมรุม" พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายความว่า "ที่พัก ที่อาศัย" ส่วน "ชุม รุมอาคาร"

ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Block มีความหมายว่า "เขต ปฏิบัติงานในเขตเทศบาล" ซึ่งสำนัก งานสถิติฯกำหนดขึ้นโดยแบ่งเขตจากแผนที่การทำงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาคสนาม ปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ทั้งนี้ ใน 1 เขตชุมรุมอาคาร ประกอบด้วยจำนวนบ้าน 100-250 หลังคาเรือน ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯทั้งหมดจัดอยู่ในเขตเทศบาล จึงใช้หน่วยสำรวจเป็น "ชุมรุมอาคาร" ทั้งหมด ขณะที่ที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด โดยเฉพาะนอกเขตเทศบาลนั้น กำหนดหน่วยเป็นหมู่บ้าน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...