27 มกราคม 2553

ประวัติความเป็นมาการทำสำมะโนประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มดำเนินการนับจำนวนประชากรเป็นครั้งแรกใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งทำได้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตบริหาร 12 มณฑล จากทั้งหมด 17 มณฑล ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยแจกแจงว่าเป็นเพศใด ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ และเป็นคนชาติพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า “บัญชีพลเมือง”
ต่อ มาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศในรูปแบบของการทำสำมะ โนประชากรโดยกระทรวงมหาดไทย ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2452 ต่อมาใน พ.ศ. 2462 2472 2480 และ พ.ศ. 2490 เรียกว่า สำรวจ“สำมะโนครัว”
สำนักงานสถิติแห่งชาติ รับผิดชอบและดำเนินการจัดทำสำมะโนประชากร ครั้งแรกใน พ.ศ. 2503 ต่อมาใน พ.ศ. 2513 2523 2533 2543 ซึ่งดำเนินการทุก 10 ปี และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา สำนักงานสถิติแห่งชาติได้มีการจัดทำสำมะโนเคหะไปพร้อมกับการทำสำมะโน ประชากร และในปี พ.ศ. 2553 นี้ จะเป็นการทำสำมะโนเคหะครั้งที่ 5 และเป็นการทำสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรประเทศไทย



การประมวลผลสำมะโนครั้งแรกในประเทศไทย (2495) พระที่นั่งนงคราญสโมสร

พนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กำลังขนลังจากรถบรรทุก ซึ่งบรรจุใบแบบข้อถาม ซึ่งได้กรอกในการทำสำมะโนประชากรและเคหะ เมื่อเดือน เมษายน 2513 กลับเข้าสำนักงานสถิติแห่งชาติ เพื่อจะได้ทำการประมวลผลต่อ
 

แสตมป์ สำมะโนประชากรและเคหะ 2523
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...