16 มีนาคม 2553

ไอซีทีเร่งเชื่อมโยงเว็บเซอร์วิสภาครัฐ เพิ่มขีดความสามารถบริการประชาชน

ไอซีทีเร่งกระตุ้นให้เกิดการ บูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ จัดสัมมนาเรื่อง “GIN…มิติใหม่การเชื่อมโยง ข้อมูลภาครัฐ” หวังให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างระบบข้ามหน่วยงาน และใช้ข้อมูลร่วมกัน

ธานีรัตน์ ศิริปะชะนะ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที กล่าวว่า แนวคิดเรื่องอีกัฟเวอร์นเมนท์ หรือรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสิ่งที่กระทรวงไอซีทีอยากผลักดันให้เกิดขึ้นมากที่สุด และรัฐมนตรีที่เข้ามาดูแลกระทรวงไอซีทีทุกรัฐบาล ก็มีแนวคิดเดียวกันว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้แนวคิดเรื่องอีกัฟเวอร์นเมนท์ สามารถนำมาใช้งาน และให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว ทันที และทั่วถึง ดังนั้น ไอซีทีได้จัดสัมมนา เรื่อง “GIN…มิติใหม่การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อให้หน่วยงานรัฐได้รับทราบข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับระบบศูนย์กลาง การเชื่อมโยงเว็บเซอร์วิสภาครัฐ รวมทั้งแนวทางและช่องทางในการใช้งานระบบการติดต่อประสานความร่วมมือระหว่าง หน่วยงาน และการนำไปใช้ในการพัฒนาระบบงานของหน่วยงานตนเองด้วย

“ไอซีทีตั้งมา 7 ปี เข้าสู่ปีที่ 8 ภารกิจหลักของกระทรวงฯก็ได้ดำเนินการตามแผนที่เนคเทควางไว้ ในเรื่องของ 5E คือ อีกัฟเวอร์นเมนท์ อีเอ็ดดูเคชั่น อีคอมเมิร์ช อีเซอร์วิส และอีโซไซตี้ สิ่งที่เราดำเนินการมาตลอดคือ เรื่องอินฟราสตักเตอร์ โดยไอซี ทีพยายามผลักดันให้ ทีโอที และ กสท หน่วยงานในสังกัด ซึ่งมีประสบการณ์การดำเนินงานในเรื่องการเชื่อมโยงโครงข่าย และมีหน่วยงานระดับจังหวัดทุกจังหวัด เป็นผู้ดำเนินงานในโครงการ GIN”

สำหรับการสัมมนาครั้งแรกจัดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2552 ในหัวข้อ “เส้นทางสู่ความสำเร็จเพื่อ การเชื่อมโยงข้อมูลภาครัฐ” ซึ่งการสัมมนาครั้งนั้น ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกหน่วยงาน และได้นำความต้องการ และแนววิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานมาพัฒนาจัดทำระบบต้นแบบ เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และใช้ข้อมูลร่วมกัน ซึ่งหลังจากกระทรวงไอซีทีได้ดำเนินการพัฒนาระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงเว็บเซอร์ วิสภาครัฐ และจัดทำระบบต้นแบบดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้จัดสัมมนาในครั้งที่ 2 นี้

ธานีรัตน์ กล่าวว่า ในการสร้างระบบบูรณาการการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐนี้ ถือเป็นมิติใหม่ของความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่จะนำเอาเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการใช้ข้อมูลร่วมกันของหน่วยงานหรือองค์กรภาครัฐ และเป็นการยกระดับความสามารถในการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการประชาชนให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

ที่ผ่านมา กระทรวงไอซีทีได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งสำนักงานประกันสังคม กรมสรรพากร กรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นแบบที่ให้การสนับสนุนและเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการ พัฒนาระบบศูนย์กลางเชื่อมโยงเว็บเซอร์วิสภาครัฐให้ก้าวหน้า รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐให้ก้าวไปสู่ การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ ทั้งนี้ กระทรวงไอซีทีมีความเชื่อมั่นว่า เครื่องมือที่ได้รับจากโครงการนี้จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้นักพัฒนาระบบ สารสนเทศภาครัฐสามารถพัฒนาระบบสารสนเทศของหน่วยงานด้วยเทคโนโลยีที่หลากหลาย และนำข้อมูลไปใช้งานร่วมกัน หรือและเปลี่ยนข้อมูลข้ามหน่วยงานภาครัฐด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สมบูรณ์ เมฆไพบูลย์วัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวเสริมว่า การพัฒนาโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมพื้นฐานให้ ครอบคลุมทั่วประเทศ ถือเป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาลได้กำหนดไว้ในนโยบายของกระทรวงไอซีทีมาตั้งแต่ ปี 2549 โดยปัจจุบันได้พัฒนาให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายภาครัฐทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาครวมทั้งสิ้น 1,004 ราย

“ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ ได้เริ่มนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปประยุกต์ใช้งานในหน่วยงาน หรือ องค์กรมากขึ้น ทั้งในด้านการดำเนินการ การบริหารจัดการ หรือการให้บริการประชาชน บางจังหวัด บางหน่วยงานยังกลัวๆ กล้าๆ ภาครัฐต้องยอมรับว่า เราขาดบุคลากรในเรื่องเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ซึ่งหลังจากหน่วยงานที่ติดตั้งระบบแล้ว ก็จะต้องมีการส่งพนักงานมาฝึกอบรมด้วย”

โครงการต้นแบบเพื่อการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศของ หน่วยงานภาครัฐ

คือโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการ เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบข้ามหน่วยงานให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่าง หน่วยงาน โดยหน่วยงานภาครัฐสามารถสร้างโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเชื่อมโยงข้อมูล สารสนเทศได้รวดเร็ว ผ่านเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network: GIN)

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงการ

- เป็นศูนย์กลางรวบรวม เผยแพร่เว็บ และแสดงรายละเอียดของเว็บเซอร์วิสภาครัฐ

- เป็นเครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาระบบสารสนเทศแบบ Services-Oriented Architecture หรือ SOA โดยพยายาม จัดหาเครื่องมือ เทคนิค และกรรมวิธี ให้นักพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐสามารถเข้าถึงและใช้งานเว็บเซอร์วิสของหน่วย งานอื่นได้สะดวก

- เป็นชุมชนออนไลน์ ในรูปแบบ Web 2.0 ที่ช่วยให้นักพัฒนาเว็บเซอร์วิสภาครัฐมาแลกเปลี่ยน ความรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ระบบ Web Services Helper System (WSHS) เป็นระบบช่วยเหลือนักพัฒนาระบบสารสนเทศภาครัฐที่มุ่งหวังการเชื่อมต่อระบบ โดยเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส ให้สามารถนำเว็บเซอร์วิสที่มีอยู่แล้วมาเผยแพร่ให้หน่วยงานอื่นรับรู้ และสามารถนำเว็บเซอร์วิสของหน่วยงานอื่นที่ได้เผยแพร่ไว้แล้ว มาใช้งานแอพพลิเคชั่นของหน่วยงานตนเองได้ตามภาษาโปรแกรมที่ตนเองถนัด ผ่านทางเครื่องมือ เทคนิค ความรู้ และกรรมวิธี ที่ระบบ WSHS จัดเตรียมไว้ให้ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นใช้งานเว็บเซอร์วิสของหน่วยงานอื่นได้โดยสะดวกรวด เร็ว

ระบบ WSHS ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 10 ระบบ โดยแต่ละระบบจะมีขอบเขตการทำงานดังต่อไปนี้

1. ระบบเว็บไซต์เซอร์วิสภาครัฐ เป็นเว็บไซต์ด้านหน้าของระบบ WSHS ที่ อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชม หรือสมาชิก เข้ามาที่เว็บไซต์เพื่อดำเนินการสืบค้นข้อมูล หรือแก้ไขข้อมูลที่จำเป็นได้ด้วยตนเอง

2. ระบบกระบวนการยื่นคำร้องขอใช้เว็บเซอร์วิส ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการอนุมัติคำขอใช้งานเว็บเซอร์วิส หลังจากที่ผู้ลงทะเบียนไว้ และมีผู้มายื่นคำขอใช้

3. ระบบลง ทะเบียนเว็บเซอร์วิส อนุญาตให้สมาชิกสามารถลงทะเบียนเว็บเซอร์วิสของหน่วยงานตนเองทิ้งไว้ พร้อมทั้งยืนยันค่าที่ได้จากการสำรวจ หรือทดสอบการเชื่อมต่อ

4. ระบบสืบค้น เว็บเซอร์วิส อนุญาตให้สมาชิกสืบค้นเว็บเซอร์วิสที่ต้อง การได้โดยใช้คำค้น จากสิ่งที่เกี่ยวข้อง เมื่อค้นพบแล้วสามารถยื่นคำขอเพื่อเข้าใช้งานได้ภายหลัง

5. ระบบสมาชิก ให้ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกของระบบ โดยต้องผ่านการยืนยันว่าผู้ใช้ และหน่วยงานมีตัวตนอยู่จริง จึงจะอนุญาตให้เป็นสมาชิกได้

6. ระบบจัดการ เนื้อหาเว็บไซต์ มีไว้เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ที่เผยแพร่ไว้ที่หน้า เว็บของระบบ WSHS ได้โดยสะดวก

7. ระบบรายงาน มีไว้เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถดูรายงานที่เกี่ยวข้องกับระบบได้

8. ระบบรักษา ความปลอดภัยข้อมูล ทำหน้าที่ควบคุมสิทธิ์การเข้าใช้ การเข้ารหัสข้อมูล XML การถอดรหัสข้อมูล XML การลงลาย เซ็นอิเล็กทรอนิกส์ และเทคนิคด้านการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ที่จำเป็น

9. ระบบสร้าง Web Service Proxy ทำหน้าที่สร้าง Web Service Proxy มอบให้กับผู้ขอใช้เว็บเซอร์วิสเพื่อใช้เชื่อมต่อไปที่เว็บเซอร์วิสที่ต้อง การ โดยจะสร้างให้ตรงกับภาษาโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะเป็น Java, .NET หรือ PHP

10. ระบบควบคุมการเข้าใช้ผ่าน WS Proxy ทำหน้าที่ควบคุมการเข้าใช้ งานเว็บเซอร์วิสที่เรียกใช้มาจาก Web Services Proxy เพื่อช่วยให้สามารถเชื่อมต่อไปที่เว็บเซอร์วิสเป้าหมายที่ต้องการ ได้
ทั้ง 10 ระบบดังกล่าวข้างต้นนี้จะถูกรวมไว้ในระบบ WSHS เพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้งานระบบ Web Services Helper System (WSHS) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...