1 กรกฎาคม 2554

แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการดำเนินงานเกี่ยวกับสถิติของประเทศมาประมาณ 100 ปี โดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นหน่วยสถิติกลาง ผลิตสถิติในแทบทุกสาขาโดยส่วนใหญ่เป็นสถิติจากการสำรวจ นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากที่ผลิตสถิติจากระบบการรายงาน งานทะเบียน โดยส่วนใหญ่เป็นสถิติที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและการดำเนินงานของหน่วยงาน จนถึงปัจจุบันมีการผลิตสถิติในเกือบทุกสาขาโดยหน่วยงานภาครัฐจำนวนมาก แม้ว่าการผลิตสถิติภายใต้ระบบดังกล่าว มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นการพัฒนาที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นการพัฒนาเพื่อตอบสนองประโยชน์ในการใช้งานของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีข้อจำกัดด้านบุคลากร งบประมาณ ฯลฯ แตกต่างกันไป ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำด้านมาตรฐานและคุณภาพของงานด้านสถิติ และในบางกรณีก็มีความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองในการดำเนินงาน

พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ได้กำหนดให้ สำนักงานสถิติแห่งชาติ มีหน้าที่จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของหน่วยงานภาครัฐ ให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศ สำนักงานสถิติแห่งชาติ จึงได้ร่วมกับหน่วยงานระดับกระทรวงทุกแห่งจัดทำแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย โดยเน้นกระบวนการหารือและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

จากการวิเคราะห์ลักษณะปัจจัยภายในและภายนอก ( SWOT Analysis) ของระบบสถิติในปัจจุบัน สามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดทำ แผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทยได้ดังนี้

  •  ใช้พระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 สร้างความชัดเจนเชิงนโยบายด้านระบบข้อมูลสถิติของประเทศ
  • ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการผลิตและให้บริการ
  • พัฒนาคุณภาพโดยการยกระดับมาตรฐานข้อมูล และพัฒนาประสิทธิภาพโดยการ
    ลดความซ้ำซ้อน และลดภาระงาน
  • สร้างเครือข่ายกับทุกภาคส่วน
  • ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูลมากขึ้น
  • พัฒนาบุคลากรที่รับผิดชอบงานข้อมูลสถิติ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...