โครงการถวายพระพรออนไลน์เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้ลงนามถวายพระพรออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ www.welovekingonline.com

123

31 มกราคม 2553

การพัฒนาระบบสถิติในประเทศ

ศาตราจารย์ ดร. บัณฑิต กันตะบุตร F.S.A.T ศาตราจารย์กิตติคุณในวิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Fello of The American Statistical Association จากหนังสือ 30 ปี สู่วิทยาศาสตร์ที่ยั่งยืนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถิติคืออะไร สถิติ คือ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจต่อปัญหาต่างๆ เป็นไปอย่างมีหลักการและถูกต้องที่สุด ความเข้าใจเช่นนี้ไกลจากความเข้าใจของคนทั่วไปในอดีตอย่างมากมาย ในอดีตนั้น ประชาชนมักจะเข้าใจว่า สถิตินั้นเป็นเพียงข้อมูลตัวเลข ผู้ที่จะมาทำงานสถิติมีพื้นความรู้เพียง บวก ลบ คูณ หารก็พอ ซึ่งแท้จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่...

30 มกราคม 2553

ท่านพร้อมที่จะเป็นหนึ่งในจำนวนตัวเลขประชากรของประเทศไทยแล้วใช่ไหม ?

สำมะโนประชากร เป็น การนับจำนวนคนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย พร้อมทั้งดูว่าผู้คนเหล่านั้นอยู่กันที่ไหนอย่างไร และมีลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมอย่างไร สำมะโนประชากร ปี 2553 นี้ เป็นการนับผู้คนทั้งหมดที่มีอยู่ในราชอาณาจักร ครั้งที่ 11 ของประเทศไทย เมื่อนับเวลาจากการทำสำมะโนประชากรครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2453 และเรามีการทำสำมะโนประชากรกันมาอย่างต่อเนื่องทุก ๆ ระยะเวลาประมาณ 10 ปี จนกระทั่งถึงสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ.2553 นี้ ก็จะเป็นวาระครบ 100 ปี ของสำมะโนประชากรของประเทศไทย ผู้คนทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย เปรียบเสมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน...

29 มกราคม 2553

ข้อมูลสำมะโนประชากรจะนำเสนอเป็นภาพรวมเท่านั้น

ในการทำสำมะโนประชากร พนักงานแจงนับจะถามข้อมูลต่าง ๆ จากท่านเกี่ยวกับสมาชิกแต่ละคนในครัวเรือน เป็นต้นว่าอายุ การศึกษา สถานภาพสมรส การทำงาน อาชีพ รวมทั้งเครื่องใช้ที่มีอยู่ในครัวเรือน หรือท่านอาจเลือกใช้วิธีกรอกข้อมูลเหล่านี้ลงในแบบแจงนับด้วยตนเอง กฎหมายได้ให้หลักประกันว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านตอบข้อถามกับพนักงานแจงนับ หรือข้อมูลที่ท่านกรอกลงในแบบแจงนับถือเป็นความลับ ซึ่งใครก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นพนักงานแจงนับ หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ หรือบุคคลภายนอกอื่นใด จะนำข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไปเปิดเผยหรือแพร่งพรายต่อไปมิได้ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เน้นย้ำความสำคัญของการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลในทุกขั้นตอนของการเก็บรวบรวม...

28 มกราคม 2553

สำมะโนประชากร 2553 จะนับใครบ้าง

สำมะโนประชากร เป็นการนับผู้คนทุกคนในประเทศไทยตามที่อยู่จริง ข้อมูลเกี่ยวข้องกับจำนวนและลักษณะต่างๆ ของคนในประเทศไทย เหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการวางแผนและกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศไทย คนไทยทุกคนที่ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลในการทำสำมะโนประชากร จึงนับได้ว่าเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้วย ทุกคนทุกครัวเรือนสามารถมีส่วนร่วมในการทำสำมะโน 2553 ได้ด้วยการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงของ “ทุกคน” ที่อาศัยอยู่จริงในครัวเรือนของตน ไม่ว่าคนนั้นจะมีชื่ออยู่ในสำมะโนครัว หรือทะเบียนบ้านหรือไม่ก็ตาม “ทุกคน” ในที่นี้หมายถึง ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่...

ระบบข้อมูลสถิติท้องถิ่น

จาก การปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 รัฐบาลมีนโยบายกระจายอำนาจและงบประมาณไปสู่ท้องถิ่น ทำให้ความต้องการใช้ข้อมูลสถิติในระดับท้องถิ่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่าง ยิ่งเพื่อใช้ในการวางแผน ตัดสินใจ และจัดสรรงบประมาณระดับท้องถิ่น และเนื่องจากระบบสถิติของประเทศไทยเป็นระบบกระจายงาน (Decentralized Statistical System) ซึ่งมีสำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานกลางในการจัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐาน ที่สำคัญของประเทศ และหน่วยงานต่างๆ มีการจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในหน่วยงาน ทำให้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เกิดปัญหาในการใช้ข้อมูลร่วมกัน...

27 มกราคม 2553

ท่านสละเวลาเล็กน้อยก็เท่ากับมีส่วนร่วม “ฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากร” แล้ว

การทำสำมะโนประชากร เป็นการแจงนับบุคคลทุกคนในทุกครัวเรือนที่อยู่ในประเทศไทย ทุกคนและทุกครัวเรือนสามารถมีส่วนร่วมในงานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศครั้งนี้ได้โดยการให้ข้อมูลตามความเป็นจริงเกี่ยวกับบุคคลในครัวเรือน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลในครัวเรือน อาจทำได้ 2 วิธี (1) ให้ข้อมูลแก่ “เจ้าหน้าที่สำมะโน” ที่เข้าไปยังแต่ละครัวเรือนเพื่อสอบถามข้อมูลของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน พนักงานแจงนับจะกรอกข้อมูลลงในแบบแจงนับ พนักงานแจงนับเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้การรับรองโดยกฎหมาย ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (มาตรา 5) นอกจากเจ้าหน้าที่สำมะโนจะไปสอบถามข้อมูลจากท่านถึงที่บ้านแล้ว...

ประวัติความเป็นมาการทำสำมะโนประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มดำเนินการนับจำนวนประชากรเป็นครั้งแรกใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ. 2448 ซึ่งทำได้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตบริหาร 12 มณฑล จากทั้งหมด 17 มณฑล ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยแจกแจงว่าเป็นเพศใด ผู้ชาย ผู้หญิง อายุเท่าไหร่ และเป็นคนชาติพันธุ์อะไรบ้าง ซึ่งเรียกว่า “บัญชีพลเมือง” ต่อ มาได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรของประเทศในรูปแบบของการทำสำมะ...

พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม

พิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม 25 ตุลาคม 2553 สำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์ ร่วมพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนบ้านกระเทียม โดยชาวชุมชนบ้านกระเทียมได้ร่วมกันทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 9 รูป เพื่อเป็นสิริมงคลเนื่องในวันเปิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนอย่างเป็นทาง การ และในเวลา 10.00 น. ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชนอย่างเป็นทาง...

26 มกราคม 2553

ทำไมต้องทำสำมะโนประชากรในเมื่อมีทะเบียนราษฎรอยู่แล้ว

แหล่งข้อมูลประชากรที่สำคัญแหล่งหนึ่งของประเทศไทย ได้แก่การจดทะเบียนราษฎร ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในราวเดือนมีนาคมของแต่ละปี กระทรวงมหาดไทยจะประกาศจำนวนประชากรที่อยู่ในทะเบียนราษฎร เมื่อวันสุดท้ายของปีที่ผ่านมา เราจะรู้ว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของปีก่อนหน้านั้นมีประชากรไทยอยู่กี่คน ผู้ชายกี่คน ผู้หญิงกี่คน ในปีก่อนนั้นมีคนเกิดและคนตายกี่คน ทั้งยังให้ข้อมูลจำนวนประชากร คนเกิด คนตาย และจำนวนบ้านที่จดทะเบียนในแต่ละจังหวัด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลประชากรในทะเบียนราษฎรเป็นจำนวนคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียน แม้จะมีกฎหมายกำหนดให้ผู้ย้ายบ้านต้องไปจดทะเบียนย้ายที่อยู่กับสำนักทะเบียน...

25 มกราคม 2553

1 กรกฎาคม 2553: วันสำมะโนประชากร ครั้งที่ 11

ประเทศไทยทำสำมะโนประชากรครอบคลุมทั่วราชอาณาจักรครั้งแรกในปี พ.ศ.2453 ประเทศไทยจะทำสำมะโนประชากรครั้งที่ 11 ในปี พ.ศ.2553 นี้ ซึ่งเมื่อนับจากปีสำมะโนครั้งแรกแล้วก็เท่ากับครบวาระ 100 ปีพอดี สำมะโนประชากรและเคหะ ปี พ.ศ.2553 นี้ได้กำหนดให้วันที่ 1 กรกฎาคม เป็น “วันสำมะโนประชากร” สำมะโนประชากรและเคหะ 2553 จะนับคนไทยที่มีชีวิตอยู่ในประเทศไทย ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2553 จะใช้เป็นจุดเวลาอ้างอิงของข้อมูลแต่ละคนในการทำสำมะโนประชากรครั้งนี้ เหตุการณ์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนับอายุ การเกิด ตาย และย้ายที่อยู่...

24 มกราคม 2553

เกือบทุกประเทศในโลกต่างทำสำมะโนประชากร

เราควรต้องน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระองค์ท่านได้ทรงริเริ่มให้มีการทำสำมะโนครัว เพื่อนับจำนวนพลเมืองทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร การทำสำมะโนครัวที่เริ่มเป็นครั้งแรกในสมัยรัชการที่ 5 นั้น เป็นการทำสำมะโนประชากรแบบสมัยใหม่ คือการนับจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของมณฑลทั้งหมดทั่วราชอาณาจักร พร้อมแจกแจงผู้คนที่นับได้ออกตามลักษณะต่าง ๆ เช่น เพศ กลุ่มวัย และเชื้อชาติ ความคิดในการทำสำมะโนประชากรสมัยใหม่ ซึ่งได้เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น ปรากฏหลักฐานเป็นการทำสำมะโนครัวในปี พ.ศ.2448 หรือ ค.ศ.1905...

23 มกราคม 2553

สำมะโนประชากรมีประโยชน์อย่างไร

สำมะโนประชากร คือ การนับผู้คนที่อยู่ในประเทศตามที่อยู่จริงว่ามีอยู่เท่าไร กระจายตัวกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างไร เป็นชาย หญิง เด็ก คนทำงาน ผู้สูงอายุ คนพิการเท่าใด ผู้มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หน้งสือมากน้อยเพียงใด คนทำงานมีงานทำหรือไม่ คนที่ทำงานประกอบอาชีพอะไรกันบ้าง ย้ายถิ่นที่อยู่กันมากน้อยเพียงใด ที่ใดมีผู้ย้ายถิ่นเข้าหรือออกมาก มีสถานที่อยู่แบบไหน ถูกสุขลักษณะหรือไม่ เป็นต้น...

22 มกราคม 2553

อุบลฯทุ่มจัด "MICT สร้างคนสร้างชาติ"

MICT จับมือจังหวัด-อบจ.อุบลฯจัดงานใหญ่ หลังจากประสบความสำเร็จอย่างสูง จากนครราชสีมา หนองคาย และเชียงใหม่ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือ เอ็มไอซีที ที่มี ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เป็นเจ้ากระทรวง ได้สนองตอบข้อเรียกร้องของชาวอุบลฯและพื้นที่ใกล้เคียง ที่ต้องการสัมผัสนวัตกรรมใหม่ทางด้านไอที ทั้งเรื่องคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ด้วยการจับมือกับจังหวัดและอบจ.อุบลฯ...

ตราไปรษณียากรที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี สำมะโนประชากรไทย

ไปรษณีย์ไทย จับมือ สนง.สถิติจัดสร้างตราไปรษณียากรที่ระลึกสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 นายณัฐวุฒ จิตะสมบัติ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานในพิธีแถลงข่าว “การเปิดตัวตราไปรษณียากรที่ระลึกสำมะโนประชากรและเคหะ ประจำปี พ.ศ.2553” ณ ลานอเนกประสงค์ชั้น 2 อาคารรวมหน่วยราชการ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถ.แจ้งวัฒนะ โดยมี นายสือ ล้ออุทัย ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร...

ร่วมฉลองหนึ่งร้อยปีสำมะโนประชากรประเทศไทย

ในปี พ.ศ.2553 นี้ จะมีเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยเหตุการณ์หนึ่งที่พวกเราชาวไทยอาจมองข้ามไป ถ้าไม่หยิบยกขึ้นมาแสดงให้เห็นโดยทั่วกัน เหตุการณ์นั้น คือ การนับจำนวนผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย รวมทั้งการแจกแจงว่าผู้คนเหล่านั้นมีคุณลักษณะอย่างไรบ้าง และกระจายตัวกันอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศอย่างไร การนับคนทั้งหมดที่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยเช่นนี้เรียกว่า “การทำสำมะโนประชากร”...

ผลการตัดสินการประกวดโปสเตอร์ "ร่วมฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากรไทย" ระดับนักเรียน

ตามที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ และหอศิลป มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยความเห็นชอบจากมหาวิทยาลัยศิลปากร จัดการประกวดโปสเตอร์ระดับนักเรียน หัวขอ “ร่วมฉลอง 100 ปี สำมะโนประชากรไทย” ชิงรางวัลโล่พระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล ไปแล้วนั้น มาดูภาพน้องๆ ที่ชนะการประกวด ได้ที่http://popcensus.nso.go.th/poster.php นอกจากนี้...

21 มกราคม 2553

กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 "เมืองช้างเกมส์"

สุรินทร์จัดพิธีเปิดเมืองช้างเกมส์อย่างยิ่งใหญ่อลังการ มีช้างเข้าร่วมแสดงนับร้อยเชือกพร้อมผู้แสดงกว่า 2000 ชีวิต ความ เคลื่อนไหวการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 31 "เมืองช้างเกมส์" ระหว่างวันที่ 21-29 ม.ค.53 โดย จ.สุรินทร์ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการซ้อมใหญ่พิธีเปิด ณ สนามกีฬาศรีณรงค์จังหวัดสุรินทร์...

แนะนำสำนักงานสถิติจังหวัดสุรินทร์

ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2535 โดยแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็น 9 กอง กำหนดอำนาจหน้าที่ของกองไว้ ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 91 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2535 ในปี 2536 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้มีการปรับปรุงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติอีกครั้ง โดยกำหนดให้มีสำนักงานสถิติจังหวัด เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ตามประกาศในราชกิจจนุเบกษา เล่ม 110 ตอนที่ 207 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2536 สำนักงานสถิติจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ กำหนดนโยบายและประสานการจัดทำข้อมูลสถิติในระดับพื้นที่ ...

Page 1 of 2112345Next
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...